4 เกณฑ์การคิดภาษีหุ้นไทย ที่นักลงทุนต้องรู้
การลงทุนในหุ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เงินงอกเงย และช่วยสร้างความมั่งคั่ง ซึ่งอาจได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล หรือกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่รู้มั้ยว่าต้องเสียภาษีด้วย ? ว่าจะจะเสียถาษีอะไร ยังไงมาดูกันเลยครับ
4 เกณฑ์ลงทุนหุ้น ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?
1. กำไรจากการขายหุ้นบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษี
หากซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถ้ามีการขายหุ้นหรือโอนหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับ 180 วันในปีภาษีนั้น จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีก้าวหน้า และต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณตอนสิ้นปีด้วย
2. เงินปันผล
เงินปันผลมีให้เลือก 2 ทางเลือกด้วยกัน ได้แก่
- เสียภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่าย 10% โดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีสิ้นปี (ใช้สิทธิ Final tax)
- นำมารวมเป็นเงินได้คำนวณภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี จากนั้นใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล เพื่อขอคืนเงินภาษี (หากภาษีที่ถูกหักไประหว่างปี มากกว่ายอดภาษีที่ต้องชำระจริง)
ควรจะเลือกทางเลือกไหนดี ?
- หากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา น้อยกว่า อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทที่ผู้ลงทุนถือ ควรยื่นเครดิตภาษี
- หากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มากกว่า อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทที่ผู้ลงทุนถือ ไม่ควรยื่นเครดิตภาษี
โดยวิธีการนี้นักลงทุนต้องคำนวณให้ดี เพราะถ้าหากนำเงินปันผลที่ได้มารวม แล้วมีเงินได้สุทธิสูงจนต้องเสียภาษีเพิ่ม แทนที่จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปคืน ก็อาจไม่คุ้มหากตัดสินใจใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งเราสามารถคำนวณภาษีเงินปันผลง่าย ๆ ไม่ต้องคำนวณเอง ได้ที่ www.set.or.th/tsd
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ในการเทรดหุ้นจะมีในเรื่องของค่าธรรมเนียม ซึ่งในนั้นจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าไปด้วย
4. ภาษีขายหุ้น
ภาษีขายหุ้น หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ คือภาษีที่เก็บจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หากมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 1 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 0.1% ของมูลค่าขาย แต่ได้รับยกเว้นตั้งแต่ปี 2534
แต่เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงการคลังยืนยันว่า จะจัดเก็บภาษีดังกล่าวในปี 2565 นี้ เพราะมองว่าเป็นจังหวะที่เหมาะสม หลังจากที่มีการยกเว้นมานานกว่า 30 ปี โดยจะเก็บเป็นรายเดือนจากยอดธุรกรรมการขายในอัตรา 0.10% ไม่แยกรายเล็ก หรือรายใหญ่ แต่คงต้องรอติดตามกันต่อไป เพราะยังอยู่ในช่วงหารือ
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT: https://bit.ly/3J8LS1W