FinSpace

ราคาน้ำมัน 1 ลิตร มีค่าอะไรที่ต้องจ่ายบ้าง?

โครงสร้างราคาน้ำมัน

บทความนี้จะพามาเปิดโครงสร้างราคาน้ำมันไทย ว่าจากน้ำมันดิบต้องผ่านอะไรบ้าง กว่าจะมาถึงราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราเติมกัน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าราคาน้ำมันขายปลีกที่เราเติน เป็นคนละตัวกับราคาน้ำมันดิบ และราคาหน้าโรงกลั่น เพราะหลังจากขุดน้ำมันออกมาแล้ว ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมามากมาย ดังนี้

Advertisements

โครงสร้างราคาน้ำมัน

1. ราคาหน้าโรงกลั่น คือ ส่วนต่างกำไรที่ธุรกิจโรงกลั่นจะได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ โดยคิดมาจาก “ค่าการกลั่น” ซึ่งเป็นต้นทุนจากเนื้อน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าดำเนินการกลั่น และต้นทุนค่าขนส่ง ทั้งนี้ ค่าการกลั่นของไทยจะอ้างอิงตามตลาดสิงคโปร์
.

2. ภาษีที่จ่ายให้รัฐบาล แบ่งออกเป็น

  • ภาษีสรรพสามิต น้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไป
  • ภาษีเทศบาล เรียกเก็บเพื่อเป็นเงินอุดหนุนในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่ ในอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7% เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป
    .

3. เงินกองทุนน้ำมัน โดยมีด้วยกัน 2 กองทุน ได้แก่

  • กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ตอนที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะดึงเงินตรงนี้่มาพยุงไม่ให้ราคาแพงเกินไป ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บไม่เท่ากัน
  • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำไปส่งเสริมพลังงานทดแทนในประเทศ น้ำมันทุกชนิดโดนเก็บเท่ากันที่ 0.10 บาท/ลิตร
    .

4. ค่าการตลาด คือ ส่วนที่เป็นเหมือนกำไรขั้นต้นของปั๊มน้ำมัน

ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถกำหนดเองได้ แต่จะมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยกระทรวงพลังงาน โดยให้กรอบค่าการตลาดไว้ว่าขึ้นลงได้ไม่เกินช่วงราคาเท่าไหร่

ภาพจาก : กระทรวงพลังงาน

ตัวอย่าง การคำนวณราคาน้ำมันดีเซล (วันที่ 28 ต.ค. 64) ที่มีราคาขายปลีก 29.69 บาท/ลิตร ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ราคาหน้าโรงกลั่น 21.8650 บาท

ภาษีสรรพสามิต 5.99 บาท

Advertisements

ภาษีเทศบาล 0.599 บาท

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง -1.99 บาท (ติดลบเพราะมีการดึงเงินกองทุนที่เก็บจากน้ำมันประเภทอื่นๆ มาอุดหนุนน้ำมันดีเซล)

กองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.1 บาท

ภาษี VAT ราคาขายส่ง 1.8595 บาท

ภาษี VAT ราคาขายปลีก 0.0829 บาท

ค่าการตลาด 1.1837 บาท

Advertisements

ดังนั้น ราคาสุดท้ายหน้าปั๊มขายอยู่ที่ 29.69 บาท/ลิตร

..

ที่มา : http://www.eppo.go.th/


ติดตามบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements