FinSpace

ย่อวิชาจัดพอร์ตของผู้จัดการกองทุน “Core-Satellite Portfolio”

จัดพอร์ตการลงทุนที่ใช้ได้กับทุกสภาวะตลาด นำไปใช้ลงทุนอย่างโปร ด้วยการลงทุนระยะยาว และเพิ่มโอกาสในการลงทุนระยะสั้นด้วย ควรจัดพอร์ตอย่างไรดี?

วิธีจัดพอร์ตการลงทุน

วันนี้ #เด็กการเงิน ขอพาทุกคนมารู้จักกับการจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite Portfolio ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การจัดพอร์ตที่ใช้ได้กับการลงทุนทั้งแบบเงินก้อนและ DCA รวมทั้งตอบโจทย์สำหรับการลงทุนระยะยาว และเปิดโอกาสให้หาผลตอบแทนเพิ่มเติมในระยะสั้นได้ด้วยค่ะ

Advertisements

Core-Satellite Portfolio เป็นอย่างไร?

ย่อวิชาจัดพอร์ต Core-Satellite Portfolio

ตีความได้ง่ายๆ ว่าในจักรวาลของการลงทุน มีโลกเป็นศูนย์กลาง เป็น Core ของพอร์ต เพื่อความมั่นคงระยะยาว และมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบซึ่งก็คือ Satellite เพื่อเพิ่มผลตอบแทน หลักการนี้มีวิธีการจัดพอร์ตโดยแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

(1) Core Portfolio หรือการลงทุนส่วนหลัก โดยมีเป้าหมายลงทุนระยะยาว เช่น 5 ปีขึ้นไป โดยจัดสัดส่วนลงทุนใน Passive fund หรือกอง index ในประเทศที่มีการเติบโตมั่นคง 2-3 ประเทศหรือภูมิภาค รวมแล้วประมาณ 60-70% แล้วแต่ความชอบและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน ซึ่งส่วน Core นี้จะมีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต เรียกได้ว่าส่วนนี้จะโตไปอย่างมั่นคง มีความผันผวนต่ำกว่า Satellite

(2) Satellite Portfolio หรือการลงทุนส่วนเพิ่ม มีเป้าหมายหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มในระยะสั้น-กลาง เช่น 6 เดือน – 3 ปี โดยจัดสัดส่วนลงทุนใน Active fund ประมาณ 30-40% ลงทุนใน 2-4 Sectors หรือธีม ในกลุ่มที่เห็นว่ามีโอกาสทำผลตอบแทนระยะสั้น-กลางได้ หรือเป็นเทรนด์ของตลาดช่วงนั้นๆ ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน จะเห็นว่าส่วนนี้มีการลงทุนกระจุกตัวที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่กระจายความเสี่ยงเท่ากับส่วน Core ดังนั้นความเสี่ยงในส่วน Satellite จึงมีมากกว่า แต่เราคาดหวังผลตอบแทนกลับมาที่สูงขึ้นนั่นเอง

ผลตอบแทนและความเสี่ยง

มีโอกาสได้กำไรส่วนเพิ่มให้พอร์ต เนื่องจากเราแบ่งเงินส่วนเล็กๆ ลงทุนใน Sector หรือ Thematic fund ในขณะที่ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตก็จะไม่สูงจนเกินไป เนื่องจากเรามี Core Portfolio ซึ่งเป็น Passive fund ที่ปกติแล้วจะมีความเสี่ยงเท่ากับตลาดนั่นเอง การเพิ่มส่วน Satellite ใน Sector ที่มี correlation น้อยกับ Core จะช่วยจำกัดความผันผวนโดยรวมของพอร์ตเราได้

ค่าธรรมเนียมของกองทุน

เนื่องจากส่วน Core นั้นเป็นการลงทุนใน Passive fund ดังนั้นค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะถูก ขณะที่ Satellite เป็น Active fund จะมีค่าธรรมเนียมที่มากกว่า ซึ่งเราเลือกลงทุนในส่วนนี้เพื่อหวังผลตอบแทนส่วนเพิ่ม เราจึงยอมจ่ายค่าธรรมเนียมที่มากกว่านั่นเอง แต่โดยรวมแล้ว Core-Satellite Portfolio ช่วยลดค่าธรรมเนียมจากการลงทุนได้ เนื่องจากเราไม่ได้ลงใน Active fund เพียงอย่างเดียว

สิ่งที่ควรทำหลังจากจัดพอร์ต Core-Satellite Portfolio

การ Rebalance หรือการปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนระหว่าง Core และ Satellite เมื่อเวลาผ่านไปก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ถ้าช่วงไหน Satellite ทำผลตอบแทนได้ดี และทำให้สัดส่วนเติบโตมากกว่าที่ตั้งไว้ตอนแรก ก็สามารถขายทำกำไรแล้วนำกลับไปไว้ใน Core Portfolio ได้ค่ะ ในทางตรงกันข้าม หากสัดส่วน Satellite ปรับลดลง ก็อาจจะขายส่วน Core มาลงทุนเพิ่มในส่วน Satellite ค่ะ

Advertisements

เมื่อไรที่เราควรขายทำกำไรส่วน Satellite? หรือถ้าหากขาดทุนจะทำอย่างไร?

เราอาจตั้ง Target ไว้ได้ เช่น หากกำไร 15% ก็จะขายเข้าส่วน Core หรือถ้าหากขาดทุน 10% ก็จะ cut loss หรือถ้าหากเห็นว่าราคาลดลงมา อยากเข้าซื้อเพิ่มก็ขายส่วน Core มาเพิ่มได้

ลงทุนด้วยเงินก้อน และ DCA ทำอย่างไร?

ไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินก้อน หรือ DCA ก็สามารถจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core-Satellite ได้ ซึ่งการจัดส่วน Satellite เราก็อาจต้องมีการรีวิวปรับเปลี่ยน Sector/ธีม ในการลงทุนบ้างในแต่ละช่วงค่ะ

ตัวอย่าง Core Portfolio (Passive fund)

กลุ่ม USกลุ่ม Chinaกลุ่มหุ้นไทย
TMBUS500 (S&P500)  K-CHX (A share, A50)  TMB50 (SET50 Index)  
ASP-S&P500 (S&P500)  SCBCHA (A share, CSI300)  SCBSET50 (SET50 Index)  

ตัวอย่าง Satellite Portfolio (Active/Sector Focus/Thematic fund)

กลุ่ม Infrastructureกลุ่ม Health careกลุ่มเทคโนโลยี           กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
KFINFRA-ABCARET-ES-GINNOPRINCIPAL-VNEQ
TMBGINFRAT-HEALTHCAREPWINB-BHARATA
  LH-INNO 
  K-CHANGE 

สัดส่วนที่แนะนำไม่ให้ลงในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิน 25% ของพอร์ตทั้งหมด

Advertisements

การจัดสัดส่วนที่เล่ามาข้างต้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนนะคะ เช่น นักลงทุนอายุ 52 ปี จะเกษียณในอีก 3 ปีข้างหน้า ก็อาจจะจัดสัดส่วน Core Portfolio 50% ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้แทนกองทุนหุ้นได้ หรือแบ่ง Core Portfolio 30%, 20% ลงทุนในตราสารหนี้ และ Index fund ตามลำดับก็ได้ค่ะ

เห็นมั้ยคะว่าการจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite มีหลักการไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นว่ากองทุนอะไรควรเป็น Core หรือ Satellite เท่านี้เราก็จัดพอร์ตการลงทุนของเราได้แบบโปรแล้ว


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk

Advertisements

DekFinance

กลุ่มสามคนผู้คลั่งไคล้ในโลกของการเงิน การลงทุน ผู้เข้าใจ pain point ของนักลงทุนอย่างแท้จริง เน้นถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเรียบง่ายและเข้าถึงได้ทุกคน มาสะสมความมั่งคั่ง อย่างมีความสุขกับเด็กการเงิน

Related post

Advertisements