FinSpace

4 สเต็ปคัดหุ้นดีลงทุน เปลี่ยน “มือใหม่” สู่นักลงทุน “มือโปร”

4-สเต็ปคัดหุ้นดีลงทุน

ข้อผิดพลาดที่เจอบ่อยๆ ของมือใหม่ในตลาดหุ้น ก็คือการลงทุนโดยใช้ “อารมณ์” เป็นหลัก

หลายคนซื้อหุ้นตามข่าว ซื้อตามเพื่อนบอก โดยที่ไม่เคยศึกษาธุรกิจลึกซึ้งดีพอ ทำให้เทรดแล้วแพ้ตลาด หรือขาดทุนจนออกจากตลาดหุ้นไปเลยก็มี

Advertisements

ทั้งที่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นเป็นการลงทุนที่มีโอกาสทำผลตอบแทนได้สูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องอดทนถือให้ยาวนานพอ และศึกษาข้อมูลอย่างครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน

คำถามคือถ้าคิดจะซื้อหุ้นสักตัว ต้องมีวิธีการคัดเลือกยังไงบ้างนั้น เพื่อไม่ให้ผิดพลาดจากการลงทุน ลองมาดูกันเลยแบบ step by step !!!

สำหรับใครที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลสำคัญบริษัทจดทะเบียน ทั้งข้อมูลธุรกิจ, ผลประกอบการ, ตัวเลขทางการเงิน และการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม สามารถอ่านได้เลยจาก “บทวิเคราะห์” ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ รวบรวมไว้ที่ https://setga.page.link/2apoVaNhVZESzdJM7


4 สิ่งที่ต้องทำ… เพื่อเทิร์นมือใหม่สู่นักลงทุนมือโปร

ทำการบ้านหุ้น

เราทราบดีว่าหุ้นมีความเสี่ยงสูง ไม่ค่อยแน่นอน และในตลาดตอนนี้ก็มีหุ้นให้เลือกมากกว่า 700 ตัว เราจึงต้องมีเช็กลิสต์เอาไว้คัดกรองหุ้น โดยเริ่มจาก

  1. วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
  2. หามูลค่าที่เหมาะสม
  3. จับจังหวะเข้าลงทุน
  4. อ่านบทวิเคราะห์อย่างเข้าใจ

ลองมาเจาะลึกรายละเอียดขอแต่ละสเต็ปไปพร้อมๆ กัน


Step1 : วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

เริ่มแรกควรเข้าใจสไตล์ของหุ้นที่จะลงทุนผ่านปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ก็คือการวิเคราะห์แบบ Top-Down โดยมองจากภาพใหญ่สุดลงมาที่ภาพเล็ก ดังนี้

1. ภาพรวมเศรษฐกิจ

เพื่อดูว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ มีผลต่อการลงทุนยังไงบ้าง

2. วิเคราะห์อุตสาหกรรม

จากนั้นค่อยมาวิเคราะห์แนวโน้มว่าอุตสาหกรรมไหนที่น่าจะได้รับประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

3. การวิเคราะห์ตัวบริษัท

แล้วค่อยมาเฟ้นหาว่าในอุตสาหกรรมที่เราสนใจ มีหุ้นตัวไหนที่โดดเด่นบ้าง เช่น เป็นผู้นำในกลุ่ม, ได้เปรียบทางการแข่งขัน, มีเรื่องราวการเติบโต หรือผู้บริหารมีความสามารถ

เท่านี้เราก็จะได้หุ้นที่ติด Watch List ออกมาคร่าวๆ ให้เก็บรายชื่อหุ้นเหล่านี้ไว้ในใจก่อน


Step2 : หามูลค่าที่เหมาะสม

หามูลค่าที่เหมาะสม

เมื่อได้หุ้นใน Watch List มาจำนวนนึงแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องประเมินมูลค่าของหุ้นเหล่านั้น

เพราะเราจะตัดสินใจซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสูงกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน และจำไว้ว่าอย่าพลาดซื้อหุ้นดีในราคาที่แพงเกินไปเด็ดขาด ซึ่งการประเมินมูลค่าที่แท้จริง ทำได้หลายวิธี เช่น

1.) คำนวณโดยวิธีคิดลดเงินปันผล (DDM)

เป็นการคำนวณมูลค่าหุ้นปัจจุบันโดยคาดการณ์ “เงินปันผล” ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และราคาหุ้นที่คาดว่าจะขายได้ในอนาคต พูดง่ายๆ ราคาหุ้นที่เรายอมจ่ายในวันนี้ คือมูลค่าที่เราคาดว่าจะได้รับในอนาคต

2.) การคิดลดกระแสเงินสด (DCF)

คล้ายกับวิธีแรกแต่เปลี่ยนมาใช้กระแสเงินสด (free cash flow) มาเป็นตัวแปรสำคัญในการคำนวณ โดยต้องอาศัยการคาดการณ์ธุรกิจในอนาคต เพื่อหางบการเงินล่วงหน้า และงบกระแสเงินสดล่วงหน้า สำหรับดูว่าบริษัทเหลือเงินสดเท่าไหร่ในแต่ละปี หลักจากจ่ายหนี้ และลงทุนไปแล้ว เพื่อประเมินมูลค่าของบริษัทนั่นเอง

Advertisements

ข้อดีของการทำ DCF คือมีความแม่นยำสูง แต่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ละเอียด และสามารถคาดการณ์ผลดำเนินงานในอนาคตได้แม่นยำ จึงเหมาะที่จะใช้กับธุรกิจที่ความมั่นคง รายได้กำไรไม่เหวี่ยง

สำหรับการประเมินมูลค่าแบบ DDM และ DCF เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์นิยมใช้กันมาก ทำให้เราสามารถดูข้อมูลการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DDM และ DCF จากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ หรือ การรวบรวมจาก IAA Consensus ที่ https://setga.page.link/2apoVaNhVZESzdJM7

แต่สิ่งสำคัญ คือ อย่าพึ่งเชื่อราคาเป้าหมายในบทวิเคราะห์ 100% แต่ควรพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลกับหลายๆ โบรกเกอร์ รวมถึงสมมุติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วย

3.) เปรียบเทียบ P/E, PEG, P/BV

ใช้การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน เช่น P/E, PEG, P/BV หรือ EV/EBITDA เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยนในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อดูความถูกแพงของหุ้นตัวนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยที่สุด แต่นิยมใช้ประเมินมูลค่าคร่าว ๆ ในเบื้องต้นอย่างรวดเร็วเท่านั้น


Step3 : จับจังหวะเข้าลงทุน

จับจังหวะเข้าลงทุน

ได้หุ้นที่ชอบในราคาที่ใช่แล้ว จังหวะเข้าซื้อก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าเข้าพลาด รู้ตัวอีกทีอาจจะขึ้นไปอยู่บนดอยได้ง่ายๆ

โดยวิธีเริ่มต้นพื้นฐานที่สุดในการหาจังหวะลงทุนที่เหมาะสม ก็คือการทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นผ่านกราฟ ซึ่งจะทำให้เราเห็นแนวโน้มต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้

  • Uptrend ที่เป็นทิศทางบอกว่าราคาหุ้นกำลังเป็นขาขึ้น
  • Downtrend ที่เป็นทิศทางบอกว่าราคาหุ้นกำลังเป็นขาลง
  • Sideways ราคาหุ้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพราะไม่มีปัจจัยสำคัญอะไร

การตีเส้นแนวโน้มราคาหุ้นจะทำให้เราเห็น “แนวรับ” และ “แนวต้าน” โดยทั่วไปแล้ว หากราคาวิ่งทะลุผ่านกรอบนี้ไปได้ ราคาก็มักจะไปต่อในทิศทางนั้นแบบมีนัยสำคัญ

นอกจากการวิเคราะห์เส้นแนวโน้มจากกราฟแล้ว เรายังสามารถนำ Indicator ต่างๆ มาช่วยวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความแม่นยำได้อีกด้วย ซึ่งก็ต้องอาศัยประสบการณ์ และการหมั่นฝึกฝนไปเรื่อยๆ

Advertisements

Step4 : อ่านบทวิเคราะห์เจาะหุ้นเด่น

อ่านบทวิเคราะห์เจาะหุ้นเด่น

บทวิเคราะห์ เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีที่ช่วยให้เรารู้จักหุ้นในหลากหลายมิติยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มลงทุน แนะนำว่าการเริ่มต้นทำความรู้จักกับหุ้นที่สนใจผ่านบทวิเคราะห์ จะช่วยย่นย่อระยะเวลาศึกษาข้อมูล และเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น เพราะมีข้อมูลสำคัญต่างๆ รวมไว้ให้ครบแล้ว ไม่ว่าจะเป็น

  1. ข้อมูลบริษัท : ทำธุรกิจอะไร, ข้อมูลเชิงลึก, ตัวเลขทางการเงิน
  2. สรุปประเด็นสําคัญ : บรีฟเนื้อหาสั้นๆ ของภาพรวมบทวิเคราะห์
  3. ผลประกอบการ : รายได้, ต้นทุน, กำไร, อัตรากำไร ฯลฯ
  4. คาดการณ์แนวโน้มอนาคต : ความเห็นนักวิเคราะห์ต่อทิศทางของบริษัท
  5. ความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระวัง : สิ่งที่มีผลต่อผลประกอบการ และราคาหุ้น
  6. แนวโน้มการจ่ายเงินปันผล : สิ่งที่มีผลต่อผลประกอบการ และราคาหุ้น
  7. คำแนะนำจากนักวิเคราะห์ : การประเมินมูลค่าหุ้น ราคาเป้าหมาย พร้อมคำแนะนำลงทุน

รวบรวมบทวิเคราะห์คุณภาพมาให้เราอ่านแบบฟรีๆ

ครบถ้วน และทันสถานการณ์

อ่านมาตรงนี้… สำหรับใครที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลบริษัทจดทะเบียนแบบถูกต้อง ครบถ้วน และทันสถานการณ์

FinSpace ขอแนะนำให้รู้จักโครงการ ERC จากตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) และสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน(IAA) ที่ได้รวบรวมบทวิเคราะห์คุณภาพมาให้เราอ่านแบบฟรีๆ ได้เลยที่ https://setga.page.link/2apoVaNhVZESzdJM7


บทความนี้เป็น Advertorial

ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements