ย้อนรอย Circuit Breaker 5 ครั้งในประวัติศาสตร์หุ้นไทย
ย้อนรอย Circuit Breaker ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์หุ้นไทย
Circuit Breaker คืออะไร ?
Circuit Breaker เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเข้ามาหยุดสถานการณ์เลวร้าย ด้วยการพักการซื้อขายชั่วคราว ซึ่งจะทำงานเมื่อ SET Index ปรับตัวลดลงถึง 10% ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย โดยจะหยุดพักทั้งตลาดเป็นวลา 30 นาที
และหากสถานการณ์ยังเลวร้ายขึ้น คือ SET Index ลดลงถึง 20% Circuit Breaker จะกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยจะหยุดพักทั้งตลาดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
รู้หรือไม่ : Circuit Breaker ครั้งแรกของโลก รู้จักกันในชื่อ “Black Monday” ในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2530 เนื่องจากดาวโจนส์ลดลงมากกว่า 20%
ครั้งที่ 1 แบงก์ชาติ ออกมาตรการกันสำรอง 30% ป้องกันเก็งกำไรค่าเงินบาท
วันที่ 19 ธันวาคม 2549 เป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ใช้ Circuit Breaker เพราะดัชนีลดลงกว่า 142.63 จุด หรือ 19.52% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในวันเดียวในประวัติศาสาตร์ จากเหตุการณ์ที่แบงก์ชาติออกมาตรการกันสำรอง 30% ป้องกันเก็งกำไรค่าเงินบาท
ครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ผลพวงจากความเชื่อมั่นว่าจะเกิดวิกฤติทางการเงิน ส่งผลให้หุ้นไทยร่วงลง 10.02 % และเป็นครั้งที่สองที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งใช้มาตรการ Circuit Breaker เป็นเวลา 30 นาที
ครั้งที่ 3 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์รุกราม
วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ผ่านมาเพียงไม่ถึง 20 วันในเดือนกัน ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ใช้ Circuit Breaker 30 นาทีอีกครั้ง จากดัชนีที่ลดลง 10% จากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก
ครั้งที่ 4 และ 5 สถานการณ์โควิด-19
เกิดขึ้นติดต่อกัน 2 วัน คือ วันที่ 12 มีนาคม และ 13 มีนาคม 2563 จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก และสงครามน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ตลาดหุ้นไทยประกาศใช้ Circuit Breaker 2 วันติดต่อกัน
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
อ่านอะไรต่อดี…