FinSpace

สรุป 7 เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม (LMTs)

7 เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่เกิดวิกฤตล่าสุดอย่าง COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดสินทรัพย์การลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ล่าสุด ได้มีเครื่องมือชุดหนึ่งที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุน ช่วยให้ผู้ลงทุนอย่างเรา ๆ ลงทุนในกองทุนรวมอย่างสบายใจขึ้น ซึ่งจะมีเครื่องมือตัวไหนบ้าง วันนี้ FinSpace จะมาสรุปเครื่องมือต่าง ๆ มาให้เพื่อน ๆ แบบกระชับ ไปดูกัน

Advertisements

#LMTs #FinSpace #เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม #AIMC

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3RnBQhp

ที่มาของเครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

ที่มาของเครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 หรือสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้สินทรัพย์ลงทุนอย่างหุ้น พันธบัตร ตราสารหนี้ มีความผันผวนสูงขึ้นกว่าปกติ

เมื่อเกิดความผันผวน และราคาสินทรัพย์เริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนต่างตกใจ จึงเร่งขายสินทรัพย์หรือหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อถือเงินสด

สำหรับกองทุนรวม เมื่อมีการเร่งขายมาก ๆ ยังส่งผลให้กองทุนขาดสภาพคล่อง และจำเป็นต้องเทขายสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อจ่ายให้กับนักลงทุนที่ขายหน่วยลงทุน ในช่วงเวลาดังกล่าว

เมื่อเร่งขายกันในช่วงดังกล่าว จะทำให้ได้ราคาขายที่ต่ำกว่าปกติ หรือหากถือกองทุนอยู่ จะทำให้มูลค่าหน่วยลงทุน หรือ NAV per unit ณ ขณะนั้นมีมูลค่าลดลงไปมากกว่าสถานการณ์ปกติ

LTMs

จากเหตุการณ์ต่าง ๆ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุนที่กำลังลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยตรง หรือถือครองกองทุนรวมอยู่

และสำหรับกองทุนรวมนั้น เพื่อให้นักลงทุนอย่างเรา ๆ ลงทุนได้อย่างสบายใจ จึงเกิด “เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กองทุนมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาสภาพคล่องกองทุนและช่วยรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุนโดยรวม

เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

เพื่อให้เพื่อน ๆ เห็นภาพเครื่องมือต่าง ๆ ในภาพรวม ขอแบ่งกลุ่มตามวัตถุประสงค์ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มเครื่องมือที่ส่งผ่านต้นทุน โดยผู้ทำธุรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย

เป็นกลุ่มที่ผู้ลงทุนเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของกองทุนรวม ซึ่งจะถูกเก็บจากค่าธรรมเนียมหรือ การปรับ NAV ต่อหน่วยลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถทำธุรกรรมได้ตามปกติ ซึ่งเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง มีอยู่ด้วยกัน 3 เครื่องมือ ได้แก่

-Liquidity Fee

-Swing Pricing

-Anti-Dilution Levies (ADLs)

2.กลุ่มเครื่องมือที่ลดหรือชะลอการซื้อขายหน่วยลงทุน

กลุ่มนี้จะจำกัดการทำธุรกรรมของผู้ลงทุนด้วยการกำหนดระยะเวลา หรือปริมาณที่ต้องส่งคำสั่งขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก แยกทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องต่ำ จนถึงเครื่องมือระงับการซื้อขายชั่วคราว ซึ่งเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง จะมีอยู่ด้วยกัน 4 เครื่องมือ ได้แก่

  • Notice Period
  • Redemption Gate
  • Side Pocket
  • Suspension of Dealings

โดยแต่ละเครื่องมือจะลักษณะและหลักการที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอธิบายต่อไป…

เครื่องมือที่ส่งผ่านต้นทุน

เครื่องมือที่ส่งผ่านต้นทุน

เครื่องมือที่ส่งผ่านต้นทุน โดยผู้ทำธุรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย

มาเริ่มที่เครื่องมือกลุ่มแรก จะเป็นเครื่องมือที่ผู้ถือหน่วยยังสามารถทำธุรกรรมได้ตามปกติ แต่จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือปรับจาก NAV เพิ่มเติม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 เครื่องมือ ได้แก่

Advertisements

1. Liquidity Fee

เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมของผู้ถือหน่วยลงทุน เมื่อมีการขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกเกินกว่าปริมาณหรือเร็วกว่าระยะเวลาเวลาที่กำหนด

2. Swing Pricing

เป็นเครื่องมือที่มีการปรับจาก NAV  ต่อหน่วยลงทุน เพื่อสะท้อนต้นทุนที่เกิดขึ้นของกองทุนรวม ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน เมื่อมีปริมาณซื้อขายเกินกว่าที่กำหนด เช่น เมื่อกองทุนมีมูลค่าการขายคืนและสับเปลี่ยนออกมากกว่าที่กองทุนกำหนด กองทุนจะปรับ NAV ต่อหน่วยลงทุนให้ลดลงเล็กน้อยด้วย Swing Factor เพื่อสะท้อนต้นทุนจากการขายหลักทรัพย์ เป็นต้น ซึ่ง Swing Factor คือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเร่งซื้อหรือขายในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ หรือสินทรัพย์ที่ไถ่ถอนก่อนครบกำหนด อาจอยู่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมธุรกรรม ค่าใช้จ่ายการยืมสินทรัพย์ เป็นต้น

3. Anti-Dilution Levies (ADLs)

เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากผู้ถือหน่วยลงทุนในฝั่งผู้ซื้อ/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า หรือฝั่งผู้ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก ฝั่งใดฝั่งหนึ่งที่เกินเงื่อนไขที่กำหนด เฉพาะวันที่กองทุนรวมมีมูลค่าซื้อขายสุทธิเกินปริมาณที่กำหนด (threshold)

ในการใช้เครื่องมือข้างต้นของกองทุน จะขึ้นอยู่กับความหนักเบาของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมและรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยโดยรวมและกองทุนรวม

เครื่องมือที่ใช้ลดหรือชะลอแรงซื้อขายหน่วยลงทุน

เครื่องมือที่ใช้ลดหรือชะลอแรงซื้อขายหน่วยลงทุน

สำหรับกลุ่มนี้ จะเป็นเครื่องมือที่เน้นการจำกัดการทำธุรกรรมของผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อชะลอความร้อนแรงโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดมีความผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้กองทุนรวมมีเวลาในการบริหารทรัพย์สินของกองทุนรวมในช่วงเวลาดังกล่าว และช่วยลดโอกาสเกิดผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้าง  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เครื่องมือ ได้แก่

1. Notice Period

เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ผู้ถือหน่วยลงทุนส่งคำสั่งเพื่อทำรายการล่วงหน้า เมื่อมีการขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกมากกว่าปริมาณที่กำหนด

2. Redemption Gate

เป็นการกำหนดระดับเพดานขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก ทำให้ผู้ลงทุนจะทยอยได้รับเงินคืนในสัดส่วนที่เท่ากัน (Pro-rata) และสำหรับรายการส่วนที่เหลือ ผู้ลงทุนจะได้รับในวันทำการถัดๆไป

Advertisements

3. Side Pocket

เป็นการแยกสินทรัพย์ลงทุนที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องออกจากทรัพย์สินโดยรวมของกองทุน โดยผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนเมื่อผู้ออกสินทรัพย์มีการชำระหนี้ หรือสินทรัพย์นั้นสามารถขายได้

4. Suspension of Dealings

เป็นการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนชั่วคราว ในกรณีที่ตลาดเกิดความผันผวนผิดปกติรุนแรง เพื่อจำกัดผลกระทบเรื่องความตื่นตระหนกของความผันผวนของตลาด และรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม โดยสามารถใช้ได้ไม่เกินกว่า 5 วันทำการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน ก.ล.ต.

และนี่คือสรุปของ 7 เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ต้องการศึกษารายละเอียดของเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากหนังสือชี้ชวน หรือจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่เพื่อน ๆ ใช้บริการได้เลยครับ


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT: https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements