FinSpace

คู่มือเริ่มต้นออมหุ้น (DCA) ฉบับรวบรัด เลือกออมหุ้นตัวไหนดี

ออมหุ้น คืออะไร ? อยากเริ่มต้น DCA หุ้นต้องทำแบบไหน จะเลือกออมหุ้นตัวไหนดี สรุปมาให้แล้วกับเรื่องที่มือใหม่ควรรู้

ออมหุ้น DCA

อยากเริ่มต้นออมหุ้น แต่ยังจับจุดไม่ถูก และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี

Advertisements

วันนี้เราได้สรุปวิธีการ รวมถึงเครื่องมือช่วยในการทยอยซื้อหุ้นแบบ DCA มาฝาก

เพราะยิ่งเริ่มไวเท่าไหร่ ก็ยิ่งไปไกลกว่า และมีโอกาสถึงเป้าหมายเร็วเท่านั้น

การออมหุ้น หรือ DCA คืออะไร

ออมหุ้น DCA

การออมหุ้น หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) คือ กลยุทธ์ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ด้วยการเลือกหุ้นที่ใช่ กำหนดช่วงเวลา และทยอยซื้อในจำนวนเงินเท่าๆ กัน อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว

เช่น กำหนดว่าจะซื้อหุ้น FS จำนวน 5,000 บาท ทุกวันที่ 5 ของเดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี

เรียกว่าเป็นวิธีที่คล้ายกับการฝากประจำเลย เพียงแต่เปลี่ยนจากการฝากเงิน มาเป็นซื้อหุ้นพื้นฐานดีเท่านั้นเอง

ทำไมต้องออมหุ้น ?

ออมหุ้น DCA

1. ในระยะยาว “หุ้น” เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระดับสูง
แม้หุ้นจะมีความผันผวน แต่จากสถิติแล้ว ยิ่งลงทุนยาวเท่าไหร่ “หุ้น” คือ สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เพราะใช้เวลาเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยง
ทำให้ในจำนวนเงินออมที่เท่ากัน การออมหุ้นช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายได้ไวกว่าวิธีออมเงินแบบเดิมๆ

2. เริ่มได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก
การออมหุ้นสามารถเริ่มได้เลย โดยไม่ต้องใช้เงินเยอะ แค่เดือนละหลักพันต้นๆ ก็เริ่มได้ แล้วค่อยๆ ทยอยสะสม สร้างผลเติบโตไปเรื่อยๆ

3. เป็นการลงทุนอย่างมีวินัย
ข้อดีสำคัญเลยของวิธีนี้ จะช่วยให้เราสร้างวินัยการลงทุน ฝึกความสม่ำเสมอ และยังลดข้อผิดพลาดเรื่องการจับจังหวะของมือใหม่

สิ่งที่ควรทำ เมื่อคิดจะออมหุ้น

ออมหุ้น DCA

1. ทำการบ้านให้หนัก คัดหุ้นดีในเวลาที่ถูกต้อง

การคัดเลือกหุ้นที่จะออม ถ้าเลือกผิด ชีวิตเปลี่ยนได้เลย !

หลักการคร่าวๆ สำหรับมือใหม่ เราควรเริ่มจากธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง ไม่ค่อยผันผวน หรือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม และหลีกเลี่ยงหุ้นที่เหวี่ยงมากๆ หรือมีความซับซ้อนในการวิเคราะห์

นอกจากนี้ อย่าลืมกระจายการลงทุนขั้นต่ำประมาณ 3 – 5 ตัวในหลากหลายอุตสาหกรรมด้วย

2. รักษาวินัย ลงทุนให้สม่ำเสมอ

เมื่อได้เริ่มแล้ว ก็ควรจะต้องรักษาวินัยให้ดี อย่างน้อยควรซื้อเฉลี่ยเดือนละครั้ง เน้นซื้อไปเรื่อยๆ เพราะความสม่ำเสมอ คือ หัวใจสำคัญของเรื่องนี้

3. ติดตามผลประกอบการของหุ้นที่ซื้อทุกไตรมาส

ทุกๆ ไตรมาส บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องส่งงบการเงินอยู่แล้ว นักลงทุนจึงควรหมั่นติดตามดูผลการดำเนินงานของหุ้นที่เรากำลังซื้ออยู่เสมอ

4. ปรับพอร์ตบ้าง เมื่อถึงเวลาเหมาะสม

เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์การลงทุนย่อมเปลี่ยนแปลงไป เราจึงควรต้องปรับพอร์ตบ้าง ซึ่งอาจจะทำทุกๆ 6 เดือนกำลังดี

อ่าน – 5 คำถามสำคัญ ถ้าไม่อยากขาดทุนจากการออมหุ้น DCA

เริ่มออมหุ้น ต้องทำยังไง

ออมหุ้น DCA

วิธีที่ 1 เปิดบัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์ทั่วไป ใช้ฟังก์ชัน DCA Order บน Streaming Pro

หากใครมีบัญชีหุ้น และเทรดผ่าน Streaming Pro อยู่แล้ว เราสามารถใช้ฟังก์ชั่น DCA Order บนแอปฯ ได้เลย เพียงแต่ต้องตั้งคำสั่งเอง อาทิ
– เลือกช่วงเวลาที่จะออมว่าให้เป็น “รายสัปดาห์” หรือ “รายเดือน”
– ออมทุกวันที่เท่าไหร่
– ระยะเวลาที่จะออม
– ชื่อหุ้น
– จำนวนเงินลงทุน

เมื่อคีย์คำสั่งเรียบร้อยแล้ว ในทุกๆ งวด ระบบก็จะดำเนินการซื้อขายจับคู่ให้เราอัตโนมัติ

Advertisements

วิธีที่ 2 เปิดบัญชีออมหุ้นโดยเฉพาะ

ออมหุ้น DCA

ปัจจุบันหลายโบรกเกอร์มีโปรแกรมออมหุ้นออกมาบริการนักลงทุนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก เหมาะกับมือใหม่มาก เพราะไม่ต้องคีย์คำสั่งเอง เพียงแต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่สูงขึ้น

โดยเราได้รวบรวมโปรแกรมออมหุ้น จากโบรกเกอร์ต่างๆ มาให้แล้ว

เริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,000 บาท
1. KTBST smart DCA
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.ktbst.co.th

2. ออมหุ้นกับ SBI Online
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.sbito.co.th

3. NOMURA DCA
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.nomuradirect.com

4. DCA กับ KGI
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.kgieworld.co.th

5. บัญชีออมหุ้น ฟิลลิป
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.phillipsavingplan.com

6. บัญชีออมหุ้นเอเชีย เวลท์
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.asiawealth.co.th

เริ่มต้นเพียงเดือนละ 2,000 บาท
1. SCBS DCA
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก http://www.scbs.com/th/scbs-dca/

2. ออมหุ้น DCA Z.COM
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://th.trade.z.com/

Advertisements

3. ออมหุ้นกับ YUANTA
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ http://www.yuanta.co.th/


จำลองการ DCA หุ้นยอดฮิต

DCA Stock

เราได้ลองคัดเลือกหุ้นยอดฮิตใน SET Index จำนวน 5 ตัว ได้แก่ PTT, AOT, CPALL, SCB และ BDMS มาจำลองการลงทุนแบบ DCA ให้ดูกัน

โดยลงทุนเดือนละ 10,000 บาท เป็นระยะเวลา 11 งวด ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนพ.ย. 2563 (25 ม.ค. – 25 พ.ย. 63) ลองมาดูกันว่าผลตอบแทนของหุ้นแต่ละตัวเป็นยังไงบ้าง

* ที่มาข้อมูลโดยการทำ Backtesting จากโปรแกรม Settrade
** เป็นเพียงการแสดงตัวอย่างเพื่อใช้สำหรับการศึกษาเท่านั้น มิได้มีเจตนาชี้นำการลงทุน นักลงทุนควรตัดสินใจเลือกหุ้นโดยพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย


06

ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

อ่านอะไรต่อดี…

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements