ชวนมารู้! ตัวย่อที่พบบ่อย ในชีวิตประจำวัน มีชื่อเต็มว่าอะไร?
ยิ่ง DCA บ่อย ยิ่งค่าธรรมเนียมแพง ซื้อทีเดียวถูกกว่า จริงเหรอ?
ซื้อกองทุนแบบ DCA หรือ ซื้อแบบเงินก้อนเดียว ทางไหนเสียค่าธรรมเนียมแพงกว่ากัน
ยิ่ง DCA บ่อย ยิ่งค่าธรรมเนียมแพง ซื้อทีเดียวถูกกว่า จริงเหรอ?
ซื้อกองทุนแบบ DCA หรือ ซื้อแบบเงินก้อนเดียว ทางไหนเสียค่าธรรมเนียมแพงกว่ากัน
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า ถ้าหากกำหนดเงินลงทุนมาก้อนนึงแล้ว
1. การแบ่งซื้อหลายๆ ที กับซื้อทีเดียว มีค่าธรรมเนียม (fee) ต่างกันไหม
2. ถ้าเรากระจายการลงทุนออกไปยังกองทุนหลายๆ แบบ เราจะเสียค่า fee มากขึ้นจริงเหรอ ?
เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็สามารถวางกลยุทธ์เฉลี่ยต้นทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องมานั่งจับจังหวะค่ะ ก่อนอื่นเรามารู้จักการซื้อหน่วยลงทุนแบบ Lump Sum กับ DCA กันก่อนนะคะ
Lump Sum คือ การลงทุนเงินก้อนแบบครั้งเดียว
DCA (Dollar Cost Average) คือ การทยอยลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่ากันในทุกๆ เดือน (หรืออาจจะเป็นรายไตรมาสก็ได้)
ประโยชน์ของการทำ DCA
1. ช่วยเฉลี่ยต้นทุน เนื่องจากบางครั้งในช่วงที่ราคาลดลง เราจะซื้อได้จำนวนหน่วยมากขึ้น แต่ถ้าหากช่วงไหนราคาเพิ่มขึ้น เราก็จะซื้อได้จำนวนหน่วยที่ลดลง ดังนั้นราคาที่เราได้ก็เป็นราคาเฉลี่ยนั่นเองค่ะ
2. ช่วยเพิ่มวินัยการลงทุน และช่วยตัดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกออกไป ไม่ต้องมานั่งจับจังหวะการลงทุนด้วยค่ะ
ยกตัวอย่างการลงทุนแบบ Lump Sum และ DCA ของแอดนะคะ
1. เนื่องจากแอดทำประกันชีวิต และประกันสุขภาพปีนึงค่อนข้างเยอะ พอถึงรอบจ่าย ก็จะต้องจ่ายเงินก้อนซึ่งรู้สึกว่าเราต้องถอนเงินออกมาจากเงินฝากเป็นจำนวนมาก (รู้สึกกระเป๋าแฟบ 555) ดังนั้นแอดจึงใช้วิธี DCA ทุกเดือนในกองทุนตราสารเงิน/ตราสารหนี้ ช่วงอายุ 6-12 เดือน เพราะไม่ต้องการให้เงินลงทุนขาดทุน ถึงแม้ว่าจะได้กำไรน้อยก็ตาม เมื่อครบรอบประมาณ 1 ปี แอดจะขายคืนเงินลงทุนส่วนนี้มาจ่ายค่าประกันต่างๆ ค่ะ
2. ลงทุน DCA ทุกเดือนในกองทุน SSF เพื่อผลประโยชน์ทางภาษี และจะเพิ่มเงินก้อน (Lump Sum) ในเดือนที่ได้โบนัสค่ะ
ค่าธรรมเนียมของการลงทุนแบบ Lump Sum และ DCA เป็นอย่างไร ?
เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่เราซื้อตอนลงทุน เป็นค่าธรรมเนียมที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน ดังนั้นไม่ว่าเราจะซื้อกี่ครั้ง หรือซื้อหลายกองทุน รวมแล้วค่าธรรมเนียมจะเท่ากันค่ะ (ตั้งต้นที่ว่ากำหนดเงินลงทุนรวมทั้งหมดเท่ากันนะคะ)
ยกตัวอย่าง แอดต้องการลงทุนด้วยเงินทั้งหมด 20,000 บาท โดยเลือกมา 2 กองทุน คือ กองทุน A และ B มีค่าธรรมเนียมที่ 1.5% ทั้งคู่ มาดูว่าการลงทุนแต่ละแบบ เราจะเสียค่าธรรมเนียมอย่างไรค่ะ (ถ้าใครกลัวงง อ่านไปดูรูปประกอบไปจะง่ายขึ้นนะคะ)
กรณีที่1 ลงทุนแบบ Lump Sum
ลงทุนแบบ Lump Sum ทั้ง 2 กองทุน กองทุนละ 10,000 บาท รวม 20,000 บาท ซึ่งเราจะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ค่ะ
กอง A: 10,000*1.5% = 150 บาท เหลือเงินไปลงทุน = 10,000-150 = 9,850 บาท
กอง B: 10,000*1.5% = 150 บาท เหลือเงินไปลงทุน = 10,000-150 = 9,850 บาท
รวมค่าธรรมเนียมทั้งสองกองทุน 300 บาท รวมเหลือเงินไปลงทุนทั้งสองกองทุน 19,700 บาท
กรณีที่2 ลงทุนแบบ DCA
DCA ทั้ง 2 กองทุน กองทุนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน รวม 20,000 บาท ซึ่งเราจะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ค่ะ
– เดือนที่ 1 กองทุน A: 2,000*1.5% = 30 บาท เหลือเงินไปลงทุน = 2,000-30 = 1,970 บาท
– เดือนที่ 1 กองทุน B: 2,000*1.5% = 30 บาท เหลือเงินไปลงทุน = 2,000-30 = 1,970 บาท
– และการลงทุนในเดือนที่ 2-5 ก็จะคิดแบบเดือนที่ 1 นี้
จะเห็นว่าในแต่ละเดือนทั้งสองกองทุนมีค่าธรรมเนียมรวมเดือนละ 60 บาท ดังนั้น 5 เดือน ค่าธรรมเนียม 60*5 = 300 บาท และจำนวนเงินที่เหลือไปลงทุน 3,940*5 = 19,700 บาท
เห็นไหมคะไม่ว่าจะเป็นการลงทุนแบบ Lump Sum หรือ DCA จากตัวอย่างทั้งสองแบบจะเสียค่าธรรมเนียมรวมเท่ากันที่ 300 บาท และเหลือเงินไปลงทุนรวม 19,700 บาทค่ะ
หมายเหตุ:ตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณให้เข้าใจง่ายว่าเงินลงทุนถูกหักค่าธรรมเนียมอย่างไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะถูกคำนวณอยู่ใน Offer
อดขอสรุปให้เลยนะคะว่า ความถี่ในการซื้อ และประเภทของกอง ไม่มีผลทำให้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นหรือลดลงแต่อย่างใด เพราะค่าธรรมเนียมนั้น คิดจากยอดเงินต้นที่เราใช้ลงทุน ซึ่งเป็นอัตราคงที่ค่ะ ซื้อมากค่าธรรมเนียมก็ต้องจ่ายมาก ซื้อน้อยค่าธรรมเนียมก็ต้องจ่ายน้อยลง ตามนี้เลยค่ะ หวังว่าทุกคนจะเข้าใจและไม่ต้องกังวลที่จะวางแผนซื้อหลาย ๆ ทีเพื่อเฉลี่ยต้นทุนsนะคะ ลงทุนอย่างฉลาดและสบายใจได้เลยค่า
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk