FinSpace

ส่องกล้องมองท่าที Fed จากผลการประชุมที่ผ่านมา

วิเคราะห์ผลประชุมเฟด (Fed) หลังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่เพิ่มการทำ QE และไม่ต่ออายุการผ่อนปรน SLR ส่งผลอะไรต่อทิศทางการลงทุน?

Fed จากผลการประชุมที่ผ่านมา 3

เมื่อกลางเดือนมีนาคมท่ามกลางการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธสหรัฐฯ หรือ Bond yield จากความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อกดดันราคาสินทรัพย์การเงินจนร่วงเกือบทุกชนิด ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต่อ Bond yield และอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น อีกทั้งการประชุมครั้งนี้ยังมีการเปิดเผยมุมมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายและประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจจากคณะกรรมการนโยบายการเงินด้วย

Advertisements

ผลการประชุมออกมาเป็นอย่างไร? มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง? แล้วต้องจับตาอะไรต่อจากนี้? ติดตามในบทความไปพร้อมกันเลยครับ!!

  • คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่มุมมองเริ่มเปลี่ยนไป
j1Aj 6pXb1a2lvN9d t0t gf q1lZ7lz8EAh1CY4ICRlGdsL8EjfyGuRDBeDk7Xb02ob14Fqm8IWVPPxzXSc9b 6W6MGqRiZ6vJVL3Wh dQghTaF 26WSnGZBJFhx fImezVCBBU
Source: Bloomberg.com

คณะกรรมการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25% เป็นไปตามคาดการณ์ การประชุมเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม จะมีการเปิดเผยมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละท่านผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘Dot plot’

Dot plot ที่เปิดเผยออกมาแปลความได้ว่า Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับนี้ไปจนถึงปี 2023 แต่เมื่อเทียบกับ Dot plot จากการประชุมเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว พบว่ามีคณะกรรมเพิ่มขึ้นถึง 3 ท่านที่มองว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 และเพิ่มขึ้น 2 ท่านที่มองว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2023 ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าตลาดการเงินได้พบกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายที่สุดไปแล้ว และมีความเป็นไปได้ที่จะตึงตัวมากขึ้นในช่วงเวลาต่อจากนี้

  • ไม่เพิ่มการทำ QE แต่เปิดช่องให้เพิ่มได้หากจำเป็น

นับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีก่อน ที่ Fed ประกาศทำ Unlimited QE เดินหน้าซื้อพันธบัตรและ Agency MBS เพิ่มสภาพคล่องเข้าตลาดการเงินถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์ การประชุมครั้งนี้ตลาดก็ยังติตดามว่า Fed จะเพิ่มปริมาณการทำ QE เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของ Bond yield หรือไม่

ผลการประชุมระบุว่า Fed ยังคงปริมาณการทำ QE ไว้เท่าเดิมด้วยการซื้อพันธบัตรอย่างน้อย 80,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน และ Agency MBS อย่างน้อย 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน สร้างความผิดหวังให้ตลาดการเงิน ดังนั้น Bond yield ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไป

O7LO2Ak1JCtzQO9xrecy1MfwnzS2FFVrV4aWE dOEqhl4R9X6TFVbtgqhuPcuJEox gQFoy N3liUDpRwoKuR59pS1FVbh6VeJf9LQA nZ
Source: Fed

อย่างไรก็ตาม Fed ยังเปิดช่องว่างให้สามารถซื้อพันธบัตรและ Agency MBS ได้มากขึ้นหากมีความจำเป็น ด้วยคำว่า ‘อย่างน้อย’ (at least) ซึ่งอย่างน้อยก็ยังอุ่นใจได้ว่าหาก Bond yield ขึ้นอย่างรุนแรงหรือเกินกว่าระดับที่ Fed เห็นสมควร Fed ก็อาจแทรกแซงด้วยการเพิ่มปริมาณการซื้อพันธบัตร

  • Fed มองเศรษฐกิจโตขึ้น คาดเงินเฟ้อจะเกิน 2%
WpvLfLsGbW2pfb SJrOEBNaJKIOUN lB6qwPC8 CkRS7y2b4yp1A5NbOysUqWppxiJe8jlkyUz95ETKm M86LprHiIGw1T6itEouzgzVY0uSTq eIBGxCHXFlIOv038aGLymMjl
Source: Bloomberg.com

การประชุมครั้งนี้ Fed ได้เปิดเผยประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยคาดว่า GDP ปี 2021 จะขยายตัวที่ 6.5% ซึ่งการประชุมเมื่อเดือนธันวาคมคาดไว้ที่ 4.2% อัตราการว่างงาน ปี 2021 คาดไว้ที่ 4.5% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนเมื่อเดือนธันวาคมที่ 5.0% สะท้อนภาพว่าเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าคาดการณ์เมื่อเดือนธันวาคมอย่างชัดเจน

เมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวมากขนาดนี้ อัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ตามมาเช่นกัน โดย Fed คาดว่า PCE สำหรับปี 2021 จะอยู่ที่ 2.4% จากประมาณการเมื่อเดือนธันวาคมอยู่ที่ 1.8% และ Core PCE ซึ่งไม่คำนวณราคาอาหารตามฤดูกาลและราคาน้ำมัน คาดไว้ที่ 2.2% จากประมาณการเมื่อเดือนธันวาคมที่ 1.8%

เมื่อ Fed คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเกินกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ประกอบกับการคงปริมาณการทำ QE ทำให้ตลาดการเงินมองว่า Fed คาดไว้แล้วว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นต่อไป และยังไม่ใช้มาตรการใดเพื่อชะลอหรือควบคุมการเพิ่มขึ้นของ Bond yield และอัตราเงินเฟ้อ

Advertisements
  • ล่าสุด Fed ไม่ต่ออายุการผ่อนเกณฑ์การคำนวณ SLR

วิกฤติการเงินปี 2008 ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความเสี่ยงในระบบการเงิน Supplementary Leverage Ratio หรือ SLR จึงถูกนำมาใช้เมื่อปี 2014 โดยคำนวณจาก Tier 1 capital / Total leverage exposure หรือ ส่วนของทุน หารด้วย สินทรัพย์ทั้งหมด และกำหนดว่าสถาบันการเงินต้องรักษาระดับ SLR ให้ไม่ต่ำกว่า 3% หากมีความสำคัญต่อระบบการเงินโลกต้องรักษาให้ไม่ต่ำกว่า 5%

เดือนเมษายนปีที่แล้ว Fed ประกาศยกเว้นการนำพันธบัตร และเงินฝากที่สถาบันการเงินฝากไว้กับ Fed ในการคำนวณ SLR โดยปกติแล้วพันธบัตรและเงินฝากที่สถาบันการเงินฝากไว้กับ Fed จะถูกรวมไว้ใน Total leverage exposure หรือสินทรัพย์ทั้งหมด และเมื่อไม่นำมาคำนวณก็ส่งผลให้ตัวหารในสูตรลดลง ดังนั้น SLR ก็เพิ่มขึ้นโดยปริยาย สถาบันการเงินก็มีทางเลือกมากขึ้น ดังนี้

  • สามารถลงทุนในพันธบัตรได้มากขึ้น 
  • รับเงินฝากจากประชาชนได้มากขึ้น
  • ปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามข้อยกเว้นดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ 31 มีนาคม 2021 และล่าสุด Fed ประกาศไม่ต่ออายุการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ ซึ่งอย่างน้อยก็จะส่งผลให้ความต้องการซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินไม่เพิ่มขึ้นและอาจมีการขายพันธบัตรจากสถาบันการเงินที่มี SLR ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ จากบทวิเคราะห์คาดว่ามีไม่กี่สถาบันการเงินที่ SLR ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ซึ่งจะทำให้มีแรงขายพันธบัตรออกมาอย่างไม่มีนัยยะ

ท่ามกลางกระแสความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อและ Bond yield แต่ Fed ยังคงการใช้นโยบายการเงินในแบบเดิม ทำให้ตลาดมองว่า Fed ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น และกลับไปใช้นโยบายการเงินเพื่อตอบสนองต่อสภาพเศรษฐกิจแบบ Reactive หรือนโยบายการเงินเชิงรับ นั่นคือรอดูข้อมูลสภาพเศรษฐกิจก่อน จึงใช้นโยบายการเงิน จากช่วงก่อนหน้าที่ตอบสนองแบบ Proactive ซึ่งใช้นโยบายการเงินเชิงรุก และแน่นอนว่า Bond yield จะขึ้นต่อไป ไม่แน่อาจได้เห็นที่ระดับ 2% ในเวลาอีกไม่นาน

Advertisements


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk

Advertisements

CrisisMan

Related post

Advertisements