FinSpace

รู้จัก 6 หุ้นสิงคโปร์ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย

สิงคโปร์

ณ ปลายสุดของคาบสมุทรมลายูเป็นที่ตั้งของเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งถ้ามองเผินๆ แล้วก็อาจไม่ได้มีสลักสำคัญใดๆ แต่ถ้าเจาะลึกกันลงไปสักนิด ในอดีตที่แห่งนี้เคยเป็นเมืองท่าค้าขาย และปัจจุบันก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลก และเป็นจุดกำเนิดของบริษัทชั้นนำมากมาย และใช่ครับ สถานที่ที่ว่านี้ก็คือ สิงคโปร์

ถ้าพูดถึงสิงคโปร์ แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือประเทศที่เป็นเบอร์ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศชั้นนำในเอเชียหากเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ตัวเลขที่ยืนยันเรื่องนี้ได้ชัดๆ คือ ใน 1 ปี คนสิงคโปร์จะมีรายได้ราว 2.5 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 4.5 แสนบาท และคนไทยอยู่ที่ 2.4 แสนบาท จากข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank Open Data)

Advertisements

นอกจากนี้ สิงคโปร์ถือได้ว่าเป็นสวรรค์ของผู้ประกอบการ เพราะในปี 2022 สิงคโปร์ถูกจัดให้เป็นเบอร์ 1 ในเรื่องระบบนิเวศน์ (ecosystem) สำหรับสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยผลงานการปลุกปั้นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นขึ้นมากว่า 14 ตัว ของสิงคโปร์ก็เป็นเรื่องราวยืนยันชั้นดี

บริษัทสัญชาติสิงคโปร์หลายๆ รายทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และมีหลายๆ บริษัทเลยที่เราแทบจะพบเห็นได้ทุกวัน ถ้าให้ยกตัวอย่างก็เช่น Grab ที่เป็นซูเปอร์แอปในธุรกิจ D2C หรือไม่ก็ Sea ที่เป็นเจ้าของทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และค่ายเกม Garena

ลองมาดูกันว่า บริษัทสิงคโปร์รายไหนบ้างที่ทำตลาดในประเทศไทยได้สำเร็จจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว

สิงคโปร์

ข้อมูลหุ้นสิงคโปร์ทั้ง 6 ตัว

1. DBS Group
ธุรกิจ: ธนาคาร
มูลค่าตลาด 69,200 ล้านเหรียญ
กำไร 5,630 พันล้านเหรียญ

2. UOB
ธุรกิจ: ธนาคาร
มูลค่าตลาด 38,400 ล้านเหรียญ
กำไร 3,180 พันล้านเหรียญ
ตัวอย่างบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวัน: UOB yolo platinum, TMRW credit card และ Citi cashback (ธนาคารยูโอบีเข้าซื้อธุรกิจกลุ่มลูกค้าบุคคลของซิตี้ ประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2022)

3. Sea
ธุรกิจ: บริการด้านเทคโนโลยี
มูลค่าตลาด 35,900 ล้านเหรียญ
ขาดทุน -2,110 พันล้านเหรียญ
ตัวอย่างบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวัน: Shopee, Shopee Food, Shopee Pay, Garena (ให้บริการ RoV และ Free Fire ในอาเซียน)

4. Grab Holdings
ธุรกิจ: บริการด้านเทคโนโลยี
มูลค่าตลาด 12,800 ล้านเหรียญ
ขาดทุน -2,450 ล้านเหรียญ
โลโก้ Grab food, Grab car, Grab bike และ Grab mart 

Advertisements

5. TDCX
ธุรกิจ: บริการโซลูชันดิจิทัล
มูลค่าตลาด 1,940 ล้านเหรียญ
กำไร 140 ล้านเหรียญ

6. PropertyGuru

บริการด้านอสังหาริมทรัพย์
มูลค่าตลาด 740 ล้านเหรียญ
ขาดทุน -110 ล้านเหรียญ
ตัวอย่างบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวัน: ddproperty

ถ้าอยากรู้ว่าบริษัทแต่ละเจ้าของสิงคโปร์ใหญ่แค่ไหน ให้ลองเทียบกับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในไทย เช่น AOT หรือ ปตท. ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) อยู่ที่ 3 หมื่นล้านเหรียญ จะเห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Sea ใช้เวลาราว 13 ปี ในการปลุกปั้นธุรกิจจนมีขนาดใหญ่กว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

*อ้างอิงข้อมูลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

Advertisements

หมายเหตุ : บทความนี้ใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้เจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

ที่มา


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT:  https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements