FinSpace

แจกเทคนิค ตะแกรงหุ้น 6 ชั้น กรองหุ้นดี คัดหุ้นคุณภาพ สไตล์ ดร.นิเวศน์

เชื่อว่าคนที่ลงทุนหรือสนใจการลงทุนในหุ้นหลายๆ คน ต้องมี ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร Value Investor ระดับแนวหน้าเป็นเสมือนต้นแบบด้านการลงทุน

และทางดร. นิเวศน์ ก็เคยนำเสนอแนวและเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งขึ้นหิ้งเป็นหนังสือต้องอ่านสำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า นั่นก็คือ “ตีแตก : กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต” โดยในเนื้อหาตอนหนึ่งของหนังสือมีการพูดถึง “วิธีคัดหุ้นเบื้องต้น” 

Advertisements

ในวันนี้ เราจะหยิบเนื้อหาบางส่วนว่าด้วยการคัดหุ้นจากหนังสือดังกล่าวมานำเสนอ แล้วตะแกรงหุ้น 6 ชั้น ตามสไตล์ ดร. นิเวศน์ จะมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันเลย!

หุ้น

ตะแกรงหุ้น 6 ชั้น กรองหุ้นดี คัดหุ้นคุณภาพ

1. กำไร

  • กำไรก้อนนั้นต้องสูงพอ
  • ดูทั้งแบบไตรมาสต่อไตรมาส แบบปีต่อปี และต้องดีอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นชั้นแรก เพราะกำไร = ตัวที่จะทำให้หุ้นขึ้นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

2. ยอดขาย

  • ต้องดีอย่างต่อเนื่อง
  • ยอดขายเพิ่มแม้ในเศรษฐกิจไม่ดียิ่งน่าจับตามอง 
  • เพราะบางกรณี ยอดขายเพิ่ม กำไรยังไม่เพิ่มชัด อาจเป็นเครื่องหมายวันหน้ากำไรงามได้

3. กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 

  • ยิ่งมาก ยิ่งดี
  • เป็นเครื่องชี้ว่าธุรกิจนั้นๆ ทำกำไรได้ดีแค่ไหน (เทียบกับเงินที่ใส่ไป)
  • ต้องคิดต่อหาก ROE สูงจาก “กำไรจากรายการพิเศษ” หรือ “ส่วนของผู้ถือหุ้นที่น้อยมาก” 
  • ถ้า RoE สูงจากการที่ส่วนของผู้ถือหุ้นที่น้อย ก็อาจสื่อว่าธุรกิจมีปัญหา

4. มูลค่าหุ้นทั้งบริษัท (Market Cap.)

Advertisements
  • หาได้จาก ราคา x จำนวนหุ้น
  • มูลค่าต้องสมเหตุสมผลไม่เกินความจริง ป้องกันการจ่ายเงินเกินจริงเพื่อธุรกิจที่สถานะไม่ดีนัก
  • สนใจหุ้นที่มีมูลค่าค่อนข้างต่ำ แต่ธุรกิจค่อนข้างใหญ่ (ฐานการตลาดดี เป็นผู้นำธุรกิจ กำไรสม่ำเสมอ)

5. P/E Ratio

  • P = ราคาหุ้น, E = กำไรต่อหุ้น
  • เป็นตัววัดความถูกแพงของราคาหุ้นแต่ละตัว
  • ยิ่งต่ำ ยิ่งดี (ในทางทฤษฎี P/E = 1 หมายถึงให้ผลตอบแทนคืนทุนใน 1 ปี, P/E = 15 คือคืนทุนใน 15 ปี)
  • แต่ในทางปฏิบัติ แม้ P/E ต่ำ ก็ควรต้องศึกษาดูก่อน (เช่นบางครั้งมีกำไรต่อหุ้นสูงแต่ก็จ่ายปันผลไม่ได้เนื่องจากบริษัทมีเงินสดน้อย เป็นต้น)

6. P/BV Ratio

  • P = ราคาหุ้น (มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด), BV = มูลค่าหุ้นตามบัญชี
  • ยิ่งต่ำ ยิ่งดี เป็นตัววัดความถูกแพงของหุ้นอีกตัว 
  • ถ้า P น้อยกว่า BV (หรือ P/BV < 1) หมายถึงเราใช้เงินลงทุนในกิจการถูกกว่าที่บริษัทลงทุนไปก่อนหน้านี้
  • บางธุรกิจกำไรอาจผันผวนในบางครั้งซึ่งทำให้ P/E เหวี่ยงตาม เราจึงใช้ P/BV มาประกอบ 
  • ช่วยบอกเราว่าราคาหุ้นเมื่อเทียบกับเงินทุนที่บริษัทใส่ลงไปในกิจการเป็นอย่างไร
  • ปกติแล้ว P มักจะมากกว่า BV เนื่องจากมีค่าความนิยมที่ไม่ปรากฏในบัญชี

สรุป การค้นหาหุ้นโดยใช้ตะแกรงร่อนกันอีกครั้ง

  1. กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี
  2. ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี
  3. กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูง
  4. มูลค่าหุ้นทั้งบริษัท (Market Cap.) สมเหตุสมผล
  5. หุ้น P/E ยิ่งต่ำ ยิ่งน่าสนใจ
  6. หุ้น P/BV ยิ่งต่ำ ยิ่งน่าสนใจ

ทั้งหมดนี้คือ “วิธีคัดหุ้นเบื้องต้น” ตามสไตล์เบื้องต้น นักลงทุนสามารถศึกษาเข้าถึงเนื้อหาด้านการลงทุนที่ทรงคุณค่าจาก Value Investor ผู้คร่ำหวอดอย่าง ดร. นิเวศน์ เพิ่มเติมได้ในหนังสือ ตีแตก : กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต นอกจากนี้ ก็ยังสามารถติดตามได้ในหนังสือเล่มอื่นๆ และรายการตามสื่อต่างๆ อีกมากมาย

Advertisements

ที่มา

  • ตีแตก : กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT:  https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements