เคยอ่านกันไหม ? 5 วรรณกรรมที่นักการเมืองระดับโลกแนะนำ
“Reading is important. If you know how to read, then the whole world opens up to you.” — Barack Obama (2013)
ใช่ว่าผู้นำประเทศหรือรัฐบุรุษจะอ่านเฉพาะงานเขียนวิชาการหรืองานเขียนพัฒนาตัวเอง งานเขียนวรรณกรรมเองก็น่าสนใจควรค่าแก่การอ่านไม่แพ้งานเขียนประเภทอื่น ๆ วันนี้ FinSpace จะพาทุกคนมาดูบรรดาผู้นำประเทศและอดีตผู้นำประเทศในทุกวันนี้กันว่าพวกเขาอ่านวรรณกรรมอะไรกันบ้าง มีเล่มไหนบ้างที่คุณเคยอ่าน ตามมาดูกันเลย
1. เจ้าชายน้อย ของ อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี (The Little Prince by Antoine de Saint-Exupéry)
วรรณกรรมสุดคลาสสิกของนักเขียนฝรั่งเศสที่ได้รับการแปลมากถึง 505 ภาษาทั่วโลกชิ้นนี้แนะนำโดยวลาดิมีร์ ปูตินประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศรัสเซีย ในบทความของ Russia Beyond ได้เขียนไว้อีกด้วยว่าปูตินกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้มากกว่าหนึ่งครั้ง และได้พูดถึงแง่คิดที่ได้จากการอ่านเจ้าชายน้อยอีกด้วย หนังสือที่จะพาให้เราได้รู้จักเจ้าชายน้อยแห่งดวงดาว B612 และเดินทางไปยังดาวดวงต่าง ๆ และเรียนรู้ธรรมชาติของโลกใบนี้ไปพร้อมกับเขา แม้จะดูเหมือนกับว่าเป็นหนังสือสำหรับเด็ก แต่ก็แฝงด้วยแง่คิดลึกซึ้งที่ไม่ว่าจะอ่านในช่วงวัยไหนก็ได้ทบทวนบทเรียนชีวิตเสมอ
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://invol.co/cljg9qb
ที่มา :
https://www.rbth.com/arts/334143-putins-favorite-books
2. สงครามและสันติภาพ ของ เลโอ ตอลสตอย (War and Peace by Leo Tolstoy)
บางคนให้ความเห็นว่าหนังสือสงครามและสันติภาพของตอลสตอยนั้นอาจเรียกได้ไม่เต็มปากว่าเป็นนวนิยาย หากแต่เป็นหนังสือที่เน้นการถกประเด็นทางปรัชญา แต่บางคนก็นับว่าหนังสือเรื่องสงครามและสันติภาพเล่มนี้เป็นนวนิยายประวัติศาสตร์ที่สะท้อนภาพสังคมและชีวิตผู้คนในสมัยสงครามนโปเลียนที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 1803-1815 แนะนำโดยเนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีในกระบวนการประชาธิบไตยคนแรกของแอฟริกาใต้ และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย งานเขียนชิ้นนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานเขียนชิ้นเอกงานหนึ่งของวรรณกรรมรัสเซีย และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมชิ้นเอกของตอลสตอย พร้อมกับงานเขียนนวนิยายอีกชิ้นที่ชื่อว่าอันนา คาเรนินา (Anna Karenina) ซึ่งเป็นอีกงานเขียนของตอลสตอยที่วลาดิมีร์ ปูตินเคยพูดถึงไว้ด้วยเช่นกัน
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://invol.co/cljg9rk
ที่มา :
https://www.goodbooks.io/people/nelson-mandela
https://www.rbth.com/arts/334143-putins-favorite-books
3. การเดินทางของพาย พาเทล ของ ยานน์ มาร์เทล (Life of Pi by Yann Martel)
หนังสือเรื่องการเดินทางของพาย พาเทล นั้นเป็นหนึ่งในลิสต์ของหนังสือที่อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐอเมริกาแนะนำ หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล The Man Booker Prize ปี 2002 มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตการเดินทางอันน่าอัศจรรย์ของพาย เด็กหนุ่มชายอินเดียวัย 16 ปีซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์เรืออับปาง เขาเอาตัวรอดอยู่กลางมหาสมุทธเป็นเวลากว่า 200 วันพร้อมกับเสือเบงกอล ไฮอีนา ลิงอุรังอุตัง จากนั้นก็กลับมาเล่าเรื่องราวน่าทึ่งให้คนบนฝั่งฟัง แต่คนกลับไม่เชื่อ พายจึงเล่าอีกเรื่องหนึ่งไป โดยที่ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้วเรื่องจริงเป็นอย่างไรกันแน่
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://invol.co/cljg9s9
ที่มา :
https://www.goodbooks.io/people/barack-obama
4. เฟาสต์ ของ โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ (Faust by Johann Wolfgang von Goethe)
เฟาสต์ เป็นหนึ่งในวรรณกรรมชิ้นเอกของเกอเทอ และเป็นงานเขียนที่ยิ่งใหญ่ในบรรดาวรรณกรรมภาษาเยอรมัน งานเขียนชิ้นนี้แนะนำโดยอังเกลา แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี เฟาสต์เป็นวรรณกรรมประเภทบทละครโศกนาฏกรรมเล่าถึงนายแพทย์ที่ชื่อว่าเฟาสต์ ผู้ทำสัญญากับปีศาจเมฟิสโตเฟเลส (Mephistopheles) เพื่อเติมเต็มความปรารถนาในด้านสติปัญญาของเขา แลกกับการรับใช้ปีศาจในนรกเมื่อสิ้นอายุขัย
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://invol.co/cljg9ta
ที่มา :
https://favobooks.com/politicians/126-angela-merkel-books-most-important-in-life.html
5. มาดามโบวารี ของ กุสตาฟ โฟลแบร์ (Madame Bovary by Gustave Flaubert)
เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสได้พูดถึงวรรณกรรมแนวสัจนิยมที่มีชื่อเสียงของโฟลแบร์โดยเฉพาะมาดามโบวารีไว้ว่าเติบโตอยู่คู่กับเขามานานแล้ว มาครงชื่นชมในอัจฉริยะภาพด้านภาษาและจังหวะที่ถ่ายทอดในวรรณกรรมผ่านแต่ละตัวละครและสถานที่ นวนิยายมาดามโบวารีเล่าเรื่องราวชีวิตของ เอ็มมา หญิงสาวผู้ชื่นชอบการอ่านนิยายจนไม่อาจแยกเรื่องราวเรื่องจริงกับเรื่องแต่งได้และปรารถนาจะมีชีวิตรักดังในนิยายประโลมโลกนั้น เธอตัดสินใจคบชู้ และทำทุกอย่างเพื่อความรักของตนเองจนชีวิตของเธอก็ลงเอยด้วยความพินาศจนได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายในที่สุด
สั่งซื้อหนังสือได้ที่ https://invol.co/cljg9y1
ที่มา :
https://www.discountmags.com/magazine/le-point-january-20-2022-digital/in-this-issue/55
ไม่ว่าบรรดาผู้นำและอดีตผู้นำประเทศได้อ่านหนังสือตามที่ตนเองได้แนะนำอย่างละเอียดถ่องแท้มากเพียงใด เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่างานเขียนเหล่านี้ล้วนเต็มเปี่ยมได้ด้วยคุณค่าทางภาษาและแง่คิดจนได้รับการยกย่องว่าเป็นงานเขียนชั้นเลิศจนต้องนำมาพูดถึงและแนะนำต่อ ท้ายที่สุดแล้ว คุณค่าของวรรณกรรมนั้นก็ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าของผู้อ่าน บรรดางานเขียนที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ แม้ว่าจะมีฉบับแปลเป็นภาษาไทย แต่หลายเรื่องกลายเป็นหนังสือที่หาซื้ออ่านได้ยากแล้ว ได้เพียงแต่รอลุ้นกันว่าจะมีสำนักพิมพ์ใดนำกลับมาตีพิมพ์ซ้ำให้เราได้อ่านกันบ้าง
แล้วคุณล่ะ ชอบหรือเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องไหนกันมาบ้าง มาแบ่งปันกัน!
________
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT: https://bit.ly/3J8LS1W