FinSpace

วิธีแก้ไขปัญหาแบบ Reverse Engineering หลักการคิดแบบวิศวกรรมย้อนกลับ

หลักคิดแบบวิศกรรมย้อนกลับ Reverse Engineering

สิ่งหนึ่งที่ ไม่ควรหนีเลย คือปัญหาและความทุกข์ เพราะแค่เราคิดจะหนีมัน เท่ากับว่าเรายินยอมให้สมองรับเอาปัญหานั้นมาก่อทุกข์

เมื่อเราเปลี่ยนคำว่า ปัญหา เป็น “ชาเลนจ์” หรือความท้าทาย

Advertisements

เราจะรู้สึกว่าความหมายมันเบาบางลงและที่สำคัญในหลายสถานการณ์ มันก็ทำให้เรารู้สึกไม่กดดันซึ่งความกดดันนี่เอง ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ไอเดียที่เราควรมีสลายหายไปเร็วยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาที่ผมมักใช้เป็นประจำในการมองจากเปลือกนอกของปัญหาแล้วค่อยๆไล่เข้าไปถึงสาเหตุ แกนหลักของปัญหา

คือวิธีที่เรียกว่า “Reverse Engineering” หรือ “หลักการคิดแบบวิศวกรรมย้อนกลับ

วิธีนี้ผมได้เรียนรู้มาจากการทำงาน เป็นวิธีที่ผมและทีมงานใช้แก้ปัญหา เครื่องจักร Breakdown

ซึ่งเป็นการแก้จากปัญหา แล้ว นำมาพัฒนาอุปกรณ์นั้นๆให้ดีขึ้น

หรือในอุตสาหกรรมการผลิต ก็มักจะศึกษาทุกกระบวนการ การผลิตของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว แยกชิ้นส่วนแล้วค้นหาว่ามันทำงานได้อย่างไร สุดท้ายก็นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า เช่นเดียวกับการแก้ปัญหา

ด้วยความที่อ่านหนังสือบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในเป้าหมายที่เขาเหล่านั้นตั้งไว้ จะเจอปัญหาระหว่างทาง เมื่อรู้ปัญหาของเขาเหล่านั้นแล้ว ก็กลับมาถามตัวเองว่า ถ้าเป็นเรา เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง

Advertisements

ส่วนใหญ่ผมจะนึกจินตนาการเหตุการณ์นั้นว่าเกิดกับตัวผมก่อน เช่น ครั้งหนึ่งที่ Steve Jobs โดนไล่ออกจากบริษัทที่ตัวเองร่วมก่อตั้ง ผมก็มักจะเอามานึกว่าแล้วถ้ากรณีนั้นเกิดกับตัวเอง จะแก้ปัญหานี้ยังไง เมื่อได้คำตอบแล้วจึงอ่านต่อ เมื่อมีไอเดียของผมแล้ว จึงอ่านไปต่อแล้วก็พบว่า การแก้ปัญหาบางอย่างใกล้เคียงกันทีเดียว และไอเดียบางอย่างที่ Jobs ใช้แก้นั้นก็มาเติมเต็มส่วนที่ผมมองข้ามไป

เมื่อเรามีหลักในใจแล้วว่าถ้าเจอปัญหาประมาณนี้ เราจะใช้การแก้ไขปัญหาแบบนี้ แน่นอนว่าปัญหาที่เข้ามาล้วนมี Pattern ที่ต่างกันออกไป แต่พอมองเข้าไปในแกนหลักของปัญหาแล้วล้วนมาจากไม่ก็เรื่องเลย เมื่อเราพอมีไอเดียในการแก้ไขด้วย Pattern นั้นแล้ว เราจะแก้ปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้น

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ผมเขียนกรณีที่จะเกิดขึ้นได้ หากผมตัดสินใจทำสิ่งนี้ และถ้าผมไม่ตัดสินใจทำสิ่งนี้ ถ้าทำหรือไม่ทำจะเกิดปัญหาอะไร หลีกเลี่ยงได้ไหม ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จะแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อเราเรียนรู้ปัญหาของคนอื่นมาบ้างแล้วเราจะมองได้กว้างยิ่งขึ้น เหมือนมีคู่มืออยู่กับตัว

Advertisements

ที่สำคัญคือพลังงานสมองจะไม่ถูกใช้ไปกับความกลัวและกังวลจากปัญหานั้น

สรุป 8 ขั้นตอน วิธีแก้ไขปัญหาแบบ Reverse Engineering หลักการคิดแบบวิศวกรรมย้อนกลับ

8 หลักคิดแบบวิศกรรมย้อนกลับ
  1. เจอปัญหา
  2. เขียนปัญหา
  3. แจกแจงปัญหาแบ่งเป็นกลุ่ม
  4. หาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
  5. เลือกเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา
  6. ลงมือแก้ปัญหา
  7. สรุปปัญหา
  8. พัฒนาเพื่อให้สิ่งนั้นดีขึ้น

เมื่อมองปัญหาเป็นชาเลนจ์ ความรู้สึกในการลงมือทำจะต่างก็ไม่มากก็น้อย


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk

Advertisements

เริ่มซักที

Related post

Advertisements