FinSpace

“ติดดอย” ทำไงดีอ่ะ ?

web

ถ้าคุณกำลังรู้สึกว่าตัวเอง “ติดดอย” !! บทความนี้อาจช่วยแก้ปัญหาได้

ทุกคนที่ลงทุนอยู่น่าจะคุ้นเคยกับอาการนี้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นคำฮิตติดปากนักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก๋าก็ว่าได้ หลายคนคงจะเคยผ่านเหตุการณ์นี้กันมาแล้ว หรือบางคนก็อาจจะกำลังประสบเหตุการณ์นี้อยู่

อาการติดดอย คือ เมื่อเราเข้าซื้อสินทรัพย์ตัวหนึ่ง เช่น หุ้น ทองคำ น้ำมัน รวมถึงคริปโตฯ ด้วย แล้วหลังจากนั้นราคาของสินทรัพย์ก็ปรับลดลงเรื่อยๆ และยังไม่กลับไปราคาเดิมที่เราซื้อไว้สักที ทำให้เราซื้อสินทรัพย์นั้นที่ราคาสูงสุด เปรียบได้เหมือนเราติดอยู่บนยอดดอยนั่นเอง นอกจากนี้ การติดดอยทำให้ต้นทุนของเราแพงกว่าราคาปัจจุบัน และทำให้เราขาดทุนในที่สุด

Advertisements

แล้วถ้าเราติดดอยอยู่ควรจะทำยังไงต่อดี?

ปล่อยไว้ ซื้อเพิ่ม หรือ ยอมขายขาดทุน

วันนี้เราจะมาแชร์วิธีแก้ปัญหาการติดดอย ซึ่งต้องบอกก่อนว่าเป็นมุมมองจากพวกเราเอง ไม่ได้เป็นทฤษฎีหรือหลักการแต่อย่างใด บางคนอาจจะมีเทคนิคอื่นอีก ก็มาแชร์ไอเดียกันได้นะ

ขั้นที่ 1 ศึกษาสินทรัพย์ที่เราลงทุนแล้วติดดอย

อาจจะฟังดูแปลกๆ ที่เรามาศึกษาในสิ่งที่ซื้อไปแล้ว แต่คือสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษาอีกครั้งว่าสินทรัพย์ที่เราลงทุนไปนั้นยังดีอยู่มั้ย? มีความน่าสนใจในอนาคตมั้ย? หรือถ้าติดดอยหุ้นก็ควรจะดูว่าบริษัทนั้นยังมีโอกาสเติบโตต่อหรือสามารถสร้างกำไรในอนาคตได้มั้ย?

ขั้นที่ 2 ดูภาพรวมของสภาวะตลาด

เราควรจะหาสาเหตุว่า ราคาสินทรัพย์นั้นปรับตัวลงจากปัจจัยอื่น หรือ จากปัจจัยของตัวสินทรัพย์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่าภาพรวมตลาดอาจจะส่งผลให้สินทรัพย์ทั้งหมดปรับตัวลดลง หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า สภาพเศรษฐกิจ ณ เวลานั้นไม่เอื้อ ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าสินทรัพย์ของเราอาจจะไม่ได้ไม่ดี แต่แค่ภาพรวมทั้งหมดไม่ดีนั่นเอง

ขั้นที่ 3 ตัดสินใจระหว่าง ถือ ซื้อ หรือ ขาย

หลังจากที่เราวิเคราะห์ภาพรวมทั้งอดีตและอนาคตของสินทรัพย์นั้นแล้ว ต่อมาก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการตัดสินใจ โดยเราสรุปสถานการณ์เหล่านั้นและแบ่งได้เป็น 5 กรณี ดังนี้

Advertisements

กรณีที่ 1 – Cut Loss หรือตัดขาดทุน เมื่อสินทรัพย์นั้นไปต่อในอนาคตไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยของสินทรัพย์เอง หรือการเกิด New Normal รวมถึงไม่สามารถสู้คู่แข่งในตลาดได้แล้ว เราก็จำเป็นจะต้องยอมตัดขาดทุนนะ

กรณีที่ 2 – ขายทิ้งแล้วซื้อใหม่ตอนที่ราคาลง เมื่อสินทรัพย์นั้นยังมีอนาคตและเรามีความรู้ความเข้าใจในสภาวะตลาดและจับจังหวะการลงทุนเป็น โดยขายสินทรัพย์นั้นทิ้งไปก่อน รอจังหวะที่ราคาลงจนถึงที่สุดแล้วค่อยนำเงินไปซื้อคืน วิธีนี้จะทำให้เรามีจำนวนสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น โดยที่ใช้เงินลงทุนเท่าเดิม

กรณีที่ 3 – ขายทิ้งแล้วไปซื้อตัวอื่นที่ดีกว่า เมื่อเล็งเห็นว่ามีสินทรัพย์อื่นที่อาจจะให้ผลตอบแทนดีกว่าในระยะเวลาสั้น เพื่อทำกำไร หลังจากนั้นอาจจะรอจังหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ หรือกลับไปซื้อสินทรัพย์เดิมก็ได้ถ้าเราคิดว่าสินทรัพย์นั้นยังคงมีพื้นฐานดีอยู่

กรณีที่ 4 – ถือต่อ เมื่อสินทรัพย์นั้นยังมีอนาคตอยู่ เพราะถ้าสินทรัพย์นั้นยังมีพื้นฐานดี สามารถทำกำไรและมีความน่าสนใจในอนาคต เมื่อภาพรวมของสินทรัพย์นั้นดีขึ้น ราคาอาจจะพุ่งสูงขึ้นจนทำให้เราได้ต้นทุนคืนมาและได้กำไรเพิ่มด้วยก็เป็นไปได้

Advertisements

กรณีที่ 5 – ซื้อเพิ่ม หรือถัวเพิ่ม เมื่อสินทรัพย์นั้นยังมีพื้นฐานดีและเรายังมีเงินลงทุนอีกก้อนหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้เราได้จำนวนสินทรัพย์ที่เพิ่มมากขึ้นและมีต้นทุนรวมที่ต่ำลง

สุดท้ายนี้ ทุกการลงทุนยอมมีความเสี่ยงเสมอ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงนั้นลงได้ด้วยศึกษาหาความรู้ในสินทรัพย์นั้นๆ ดังนั้นอย่าลืมศึกษาให้ละเอียดก่อนตัดสินใจเริ่มลงทุนนะ รวมถึงอย่าลืมว่าเราต้องมีวินัยในการลงทุนด้วย ต้องรู้จัก Cut Loss ให้เป็น มิเช่นนั้นก็จะวนกลับติดดอยอีกที


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT:  https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements