สรุปข้อมูลหุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม 2564 แบ่งเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง
สรุปครบ! ลดหย่อนภาษี 2563 [พร้อมอัปเดทล่าสุด]
รายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง ลดหย่อนได้เท่าไหร่ เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนยื่นภาษีปีนี้

ใกล้จะสิ้นปี 2563 กันแล้ว ชาวมนุษย์เงินเดือนอย่าลืมเตรียมตัวเรื่องภาษีกันนะ !!
ต้องยื่นเท่าไหร่ ?
ลดหย่อนได้แค่ไหน ?
FinSpace รวบรวมข้อมูล ลดหย่อนภาษีประจำปี 2563 พร้อมอัปเดทล่าสุดมาให้ดูแล้ว ไปดูกันเถอะ !!!!
ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว 2563

- ส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนได้ทันทีที่ยื่นภาษี - คู่สมรส (ที่ไม่มีรายได้) ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
เงื่อนไข: สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ - ฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
เงื่อนไข: หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท - ลูกคนแรก (ไม่เกิน 25 ปี และยังเรียนอยู่) ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
เงื่อนไข: ต้องเรียนในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือยังเป็นผู้เยาว์ (อายุน้อยกว่า 20 ปีและยังไม่สมรส), ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู - ลูกคนต่อๆ ไป (ไม่เกิน 25 ปี และเรียนอยู่) ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
เงื่อนไข: ต้องเรียนในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือยังเป็นผู้เยาว์ (อายุน้อยกว่า 20 ปีและยังไม่สมรส), ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู - ลูกคนต่อๆ ไป (แต่เกิดตั้งแต่ 2561) ลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท
เงื่อนไข: ลูกต้องเกิดในปี 2561 หรือหลังจากนั้น - เลี้ยงดูพ่อแม่ ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
เงื่อนไข: พ่อแม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 4 คน - อุปการะผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท
เงื่อนไข: ต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย
ลดหย่อนภาษีประกันและการลงทุน 2563

หมวดรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เงื่อนไข: 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท - กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
เงื่อนไข: 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท - กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เงื่อนไข: 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท - กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
เงื่อนไข: 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท’ - กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
เงื่อนไข: 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท - กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
เงื่อนไข: 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท - กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
20 กองทุน RMF ลดหย่อนภาษี [ผลตอบแทนดีสุด]
>> https://www.finspace.co/top20rmf2563/ <<
[หมวดรวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท]
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท - เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
[หมวดอื่นๆ ]
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท - กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุน SSFX คืออะไร : - ประกันสังคม ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท
ลดหย่อนภาษีบ้านและอสังหาฯ 2563

- ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท - บ้านหลังแรก ปี 2559 ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
เงื่อนไข: ราคาบ้านไม่เกิน 3,000,000 บาท ซึ่งคำนวนจากสิทธิ์ 20% ของราคาซื้อขายตามสัญญาซื้อขายของกรมที่ดิน (ท.ด. 13) ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
ลดหย่อนภาษีเงินบริจาค 2563

[หมวดไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน]
- มูลนิธิและองค์กรสาธารณะกุศล ลดหย่อนได้ตามจริง
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน - การศึกษา, กีฬา, โรงพยาบาลรัฐ, สังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่า
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวนเงินที่จ่ายได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
[หมวดอื่นๆ]
- พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ลดหย่อนภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ

- ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท - ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ลดหย่อนได้ 1 เท่าของที่จ่ายจริง
เงื่อนไข: ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่จ่าย เมื่อมีเงินได้จากค่าเชื่อ, ค่าวิชาชีพอิสระ, ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ, หรือ เงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ
หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ย. 2563
รวมกองทุน SSF ลดหย่อนภาษี 2563 [สายกองทุนหุ้น]
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb