ส่องยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ปัจจุบันนี้ จีนไปได้ไกลขนาดไหนแล้ว ?

FSspecialcolumnists x BottomLiner l ส่องยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ปัจจุบันนี้ จีนไปได้ไกลขนาดไหนแล้ว
แผนนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2010 เพื่อให้จีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ
แม้ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากในการหาทิศทางเพื่อลงทุนหุ้นจีน แต่มีน้อยคนเหลือเกินที่พูดถึงเรื่องนี้ และเหลือเวลาเพียง 1 ปีนิด ๆ เท่านั้นก็จะถึงปี 2025 แล้ว
วันนี้ BottomLiner เลยอยากพาติดตามความคืบหน้ากันครับ ว่าปัจจุบันนี้จีนตามแผนไปได้ขนาดไหนแล้ว
10 ยุทธศาสตร์ Made in China 2025

AI (Artificial Intelligence)
ปี 2025 จีนตั้งเป้าว่าอุตสาหกรรม AI จะต้องพัฒนาถึงจุดที่สามารถใช้งานได้จริงส่งเสริมทั้งภาครัฐและธุรกิจ
หากนับจากจำนวนสิทธิบัตร เราจะเห็นว่าจีนขึ้นนำอเมริกามาพักใหญ่แล้ว โดยจีนมีสิทธิ์บัตรที่เกี่ยวข้องกับ AI ราว ๆ 1.6 แสนและยังเพิ่มต่อเนื่องประมาณ 40% ต่อปี ในขณะที่สหรัฐมีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ AI อยู่ราว ๆ 6 หมื่นรายการ และเติบโตประมาณ 10% ต่อปีเท่านั้น
แต่เราไม่สามารถวัดเรื่องนี้จากปริมาณอย่างเดียวได้เพื่อวัดว่าใครเหนือกว่า
ด้วยเหตุที่ทุนเพื่อการพัฒนา AI ส่วนใหญ่ถูกคัดเลือกและควบคุมจากรัฐบาลเป็นหลัก ทำให้ปัจจุบันจีนกำลังเผชิญปัญหาที่มีสิทธิบัตรที่มีอยู่จำนวนมากแต่เอามาใช้จริงยังไม่ค่อยได้
Electronic
โดยเฉพาะ Semiconductor
จีนตั้งเป้าว่าใน 2030 จะสามารถผลิตเองได้ ประมาณ 80% ของที่ต้องการใช้
ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่บริโภค Semiconductor มากที่สุดในโลก แต่ผลิตเองได้ 40% เท่านั้น
เนื่องจากอุตสาหกรรม Semiconductor เป็นอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้ต้นทุนและความรู้ในการพัฒนาที่สูงมาก ซึ่งปัจจุบัน Semiconductor ระดับ Advance ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกผูกขาดโดยสหรัฐและพันธมิตร

Robotic
รัฐบาลจีนตั้งเป้าว่าในปี 2025 จะต้องผลิตหุ่นยนต์ไว้ใช้เองในประเทศให้ได้ 70% ของความต้องการในประเทศ
ซึ่งประเทศจีน เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้งห่างเบอร์ 2 อย่างญี่ปุ่นกว่า 3 เท่า (ข้อมูลปี 2018) แต่ปริมาณการใช้งานยังไม่โดดเด่นเท่าการผลิต โดยข้อมูลในปี 2021 พบว่า ปริมาณการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตของจีนยังอยู่เป็นอันดับ 9 ของโลก ที่ 246 ตัว ต่อคน 10,000 คน ในอัตราเติบโต 31.5% ต่อปี ขึ้นมาจาก อันดับ 14 ในปี 2017
Aerospace Equipment
รัฐบาลจีนวางแผนว่าจะส่งออกชิ้นส่วนเครื่องบินโดยสารให้ได้ 10% ของตลาดโลกในปี2025
จากข้อมูลในปี 2022 พบว่าปัจจุบัน จีนครองสัดส่วนตลาดชิ้นส่วนเครื่องบินประมาณ 5% และคาดว่าจะถึง 10% ในปี 2030
แม้ว่าจะเติบโตได้ดีแต่ยังช้ากว่าเป้าหมายไปมาก

NewEnergyVehicles (NEVs)
รัฐบาลจีนต้องกาลดการบริโภคน้ำมันให้มากที่สุด โดยตั้งเป้าว่า NEVs จะมีสัดส่วนเป็น 40% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในปี 2025
ในปีนี้คาดว่ารถ NEVs จีนมียอดขายประมาณ 6 ล้านคันจากยอดขายรถยนต์ 20 ล้านคัน หรือคิดเป็นประมาณ 30% จากยอดขายทั้งหมด
ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตรถ NEVs จีนที่ใหญ่ที่สุดคือ BYD โดยครองสัดส่วนประมาณ 50% ของตลาด
Energy Equipment
รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะต้องสามารถผลิตสิ้นส่วนอุปกรณ์ในการผลิตพลังงานเช่น อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ, เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า, และ circuit breakers ให้ได้ 70% ของความต้องการในปี 2025
ซึ่งปัจจุบันถือว่าทำได้ใกล้เคียงเป้าหมายแล้ว
โดยในปี 2021 จีนสามารถผลิตชิ้นส่วนใช้เองได้ประมาณ 65% จากการใช้งานในประเทศแล้ว

อุตสาหกรรมรถไฟ
รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะต้องสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง พร้อมรางวิ่งมากกว่า 38,000 กม.
ซึ่งปัจจุบันรางรถไฟในจีนมีมากกว่า 40,000 กม. ถือว่าบรรลุเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อุตสาหกรรมอุปกรณ์สำหรับการเกษตร
รัฐบาลตั้งเป้าผลิต
รถแทรกเตอร์อัจฉริยะ 100,000 คัน
โดรนการเกษตร 10,000 ตัว
หุ่นยนต์สำหรับการเกษตร 1,000 ตัว
ในปี 2025 เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรของจีน
ซึ่งในปัจจุบันจีนถือว่าประสบความสำเร็จในด้านนี้
โดยสามารถผลิต
รถแทรกเตอร์อัจฉริยะ 120,000 คัน
โดรนการเกษตร 100,000 ตัว (มากกว่าเป้าไปแล้ว 10 เท่า)
หุ่นยนต์สำหรับการเกษตร 1,000 ตัว (มากกว่าเป้าไปแล้ว 10 เท่า)

อุตสาหกรรม Hi Tech Ship
รัฐบาลจีนตั้งเป้าว่าจะต้องผลิตเรือพลังงานก๊าซธรรมชาติ 1,000 ลำ รวมถึงพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ และ โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในปี 2025 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 50% ในปี 2050
ในส่วนนี้ทำได้ค่อนข้างช้า โดยปัจจุบันจีนผลิตได้เพียง 100 ลำเท่านั้น
อุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์
รัฐบาลตั้งเป้าคิดค้นยารักษาโรคใหม่ ๆ 100 ตัว
เครื่องมือแพทย์ 50 ชนิด
ส่งออกยามากกว่า $20 Bn ในปี 2025
ซึ่งในปี 2022 ปีเดียว จีนได้ คิดค้นยารักษาโรค 16 ตัว
เครื่องมือแพทย์ 20 ตัว
และ ส่งออกยา $30 Bn ซึ่งเกินขากเป้าไปเรียบร้อยแล้ว

สรุป
จีนสามารถทำตามเป้าหมายได้บางส่วน และบางส่วนถือว่าพลาดเป้าไปเยอะมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่ทำไม่ได้ตามเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ ถูกผูกขาดโดยสหรัฐ และพันธมิตร เช่น AI, Electronic, Robotic และ ชิ้นส่วนเครื่องบิน เป็นต้น ในส่วนที่สหรัฐไม่สามารถกรีดกันได้ ส่วนนั้นจีนมักจะทำได้ดี เช่นอุตสาหกรรม 5G, รถยนต์ไฟฟ้า, การเกษตร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสิ่งซึ่งจีนต้องการอย่างมากเพื่อปลดล็อคศักยภาพของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ขุดเจาะ Shale Oil ซึ่งปัจจุบันสหรัฐผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้สหรัฐกลายเป็นมหาอำนาจการขุดเจาะน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2018 เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่าที่อื่นในโลก
โดยพบว่าใต้ดินของจีนมี Shale Oil กว่า 720,000 ล้านตัน ซึ่งเป็นเบอร์ 2 ของโลกเป็นรองแค่ สหรัฐที่มีอยู่ 2 ล้านล้านตัน เท่านั้น แต่ต้นทุนการขุดในจีนสูงกว่าสหรัฐเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่คุ้มในการขุด Shale Oil
ซึ่งหากจีนสามารถปลดล็อคส่วนนี้ได้จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศเป็นอย่างมาก
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb