FinSpace

Clubhouse คืออะไร ? ชวนทำความรู้จักแอปสุดฮอตฮิตในนาทีนี้

Clubhouse

ตอนนี้คงไม่มีอะไรร้อนแรงไปกว่ากระแสของ Clubhouse ซึ่งเป็นอีก Social Media ตัวใหม่ที่เน้นโปรโมทด้านการคุยผ่านเสียงเป็นหลัก จนหลายๆ คนมองว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารใหม่อีกตัวที่มีโอกาสโตอีกมากในอนาคต

แต่จุดเริ่มต้นของ Clubhouse เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นจุดเด่น รวมถึงโอกาสและผลกระทบในโลกดิจิทัลจะเป็นไปในทิศทางไหน วันนี้ FinSpace รวมรวบมาให้ดูในทุกแง่มุมแล้ว

Advertisements
  • Clubhouse คืออะไร ?
  • จุดเริ่มต้นของกระแส Clubhouse
  • สำรวจความ Unique และจุดเด่นของ Clubhouse
  • ผลกระทบของ Clubhouse ต่อ Social Media อื่นๆ
  • Clubhouse กับ Podcast จะเป็นคู่แข่งกันไหม ?
  • แบรนด์ โฆษณา การตลาด สามารถใช้ประโยชน์จาก Clubhouse ได้แค่ไหน

Clubhouse คืออะไร ?

Clubhouse คืออะไร ?

Clubhouse (คลับเฮาส์) คือ Social Media ที่มีจุดชูโรงในเรื่องของการสื่อสารด้วยเสียงระหว่างผู้ใช้งาน

และถูกพัฒนาขึ้นโดยสตาร์ทอัพนามว่า Alpha Exploration Co. โดยมีสองผู้ก่อตั้งที่มีประสบการณ์ในวงการเทคโนโลยีมายาวนานอย่าง Paul Davidson (อดีตเคยทำงานที่ Google และ Pinterest) และ Rohan Seth (อดีตเคยทำงานที่ Google และสตาร์ทอัพอสังหาฯ Opendoor)

ปัจจุบันผู้สนใจสามารถสมัครใช้งานผ่านระบบ iOS 13 (มีแผนจะพัฒนาไปยัง Android ในอนาคต) แต่ Clubhouse ยังใช้ระบบ Invite Only ในการรับผู้ใช้งานใหม่เป็นหลัก หมายความว่าผู้ใช้งานคนอื่นๆ จะต้องส่ง Invite ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จักเท่านั้น

เหตุผลที่ในขณะนี้ยังใช้ระบบ Invite Only เท่านั้น เพื่อให้ Clubhouse สามารถพัฒนาไปอย่างช้าๆ สอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้งานเป็นหลัก ในอนาคตคาดว่าจะสามารถสมัครใช้งานโดยไม่ต้องมี Invite ได้เช่นกัน

สำหรับฟีเจอร์นั้น เราสามารถสร้างห้องเพื่อเป็นผู้ดูแลห้องนั้น (Moderator) ซึ่งจะมีหน้านี่คอยควมคุมแนวทางเนื้อหาในห้องและรักษาบรรยากาศการสนทนา ส่วนผู้ใช้งานคนอื่นๆ สามารถเป็นได้ทั้งผู้พูด (Speaker) และผู้ฟัง (Audience) โดยผู้ดูแลห้องสามารถกำหนดให้ผู้ชมท่านใดมารับบทผู้พูดได้ตามความเหมาะสม

Clubhouse แบ่งห้องสนทนาตามเรื่องที่สนใจเป็นหลัก หรือเข้าร่วมห้องต่างๆ ตามที่ได้ติดตามจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ และในปัจจุบันสัดส่วนของห้องสนทนาจะมีทั้งกลุ่ม Influencer และ Key Opinion Leader ใช้งานเป็นหลัก รวมไปถึงระดับผู้ใช้งานทั่วไปที่กำลังเพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆ

Clubhouse สามารถจุผู้ใช้งานภายในห้องเดียวสูงสุดกว่า 6,000 คนไว้ด้วยกัน แต่ในอนาคตเป็นไปได้ว่าอาจมีการเพิ่มขนาดความจุของห้องเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น เช่น การประชุมหรือสัมมนา การสัมภาษณ์ เป็นต้น

จุดเริ่มต้นของกระแส Clubhouse

จุดเริ่มต้นของกระแส Clubhouse

แม้จะเปิดให้บริการครั้งแรกในช่วงเดือนเมษายน 2020 แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากในทันที และอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Clubhouse ได้รับความสนใจมากกว่าเดิม

จุดเริ่มต้นมาจากมหากาพย์หุ้น GameStop ของนักลงทุนรายย่อยปะทะ Wall Street ที่ Elon Musk ชักชวนให้ Vladimir Tenev CEO ของแอปเทรดหุ้น Robinhood มาพูดคุยกันผ่าน Clubhouse ในประเด็นของหุ้น GameStop ส่งผลให้มีผู้ใช้งานสนใจเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนดังต่างๆ หันมาใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Mark Zuckerberg ก็ตาม

ในในไทยเองก็ได้รับสนใจไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะมีเหล่า Influencer หลายๆ วงการได้เข้ามาใช้งาน Clubhouse มากขึ้น ทั้งการตั้งห้องสนทนาสาย Business หรือสาย Casual ทำให้มีผู้คนที่สนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

รวมถึงประเทศจีนที่ชาวจีนจำนวนไม่น้อยต้องการใช้งาน Clubhouse เพื่อสนทนาประเด็นการเมืองที่ไม่สามารถสนทนาในแอปส่วนใหญ่ของประเทศจีน ส่งผลให้เกิดการซื้อขาย Invite สำหรับเข้าร่วม Clubhouse เป็นจำนวนมาก และส่งผลให้รัฐบาลจีนตัดสินใจแบน Clubhouse ในเวลาต่อมา

สำรวจความ Unique และจุดเด่นของ Clubhouse

จุดเด่นของ Clubhouse

Clubhouse ถูกตั้งเป้าหมายให้ใช้การสื่อสารผ่านเสียงเป็นหลักเท่านั้น ผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องเขียนออกมา หรือโฟกัสกับวิดีโอมากนั้น เพื่อให้การสนทนาเป็นธรรมชาติราวกับการได้นั่งคุยร่วมกัน จึงเรียกว่า Clubhouse นำพื้นฐานของแพล็ตฟอร์มห้องสนทนาเสียงที่มีมานานแล้วมาปรับปรุงใหม่

Advertisements

โดยใส่ระบบค้นหาห้องตามความสนใจ และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เนื่องจากการบันทึกเสียงใน Clubhouse เป็นการกระทำที่ผิดกฎต่อมาตรฐานชุมชน และจะแจ้งเตือนผู้ใช้งานอื่นๆ ในห้องหากมีผู้ใช้งานบางท่านบันทึกเสียงไว้ รวมทั้งไม่มีการเก็บประวัติการสนทนาไว้

นอกจากนี้ หากผู้ดูแลของห้องสนทนาสามารถสร้างบรรยากาศสนทนาได้น่าสนใจ ก็จะยิ่งมีผลให้ผู้ใช้งานท่านอื่นๆ สนุกกับการสนทนามากขึ้น และใช้เวลาสนทนานานกว่าเดิม เรียกได้ว่า Clubhouse เป็นเสมือนพื้นที่ให้ผู้ใช้งานที่มีความสนใจคล้ายๆ กันมาร่วมวงสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ แตกต่างจาก Social Media อื่นๆ ในตอนนี้พอสมควร

ผลกระทบของ Clubhouse ต่อ Social Media อื่นๆ

ผลกระทบของ Clubhouse ต่อ Social Media

กระแสความสนใจต่อสังคมออนไลน์กับ Clubhouse ได้สร้างแรงสะเทือนไปยัง Social Media อื่นไม่มากก็น้อยเช่นกัน เพราะทั้ง Facebook และ Twitter ต่างกำลังพัฒนาฟีเจอร์สนทนาผ่านเสียงใหม่ออกมาที่มีลักษณะคล้ายกับ Clubhouse อยู่เช่นกัน

สำหรับ Facebook ที่ในช่วงหลังให้ความสนใจกับการสร้างชุมชนผู้ใช้งานมากขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าฟีเจอร์ Clubhouse ของ Facebook อาจจะเป็นการนำไปเสริมให้แก่กลุ่มผู้ใช้งานตาม Group หรือ Community ต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว จนไปถึงการสร้างระบบรวมห้องตามความสนใจไว้เหมือน Clubhouse ก็เป็นได้

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้ว่า Social Media เจ้ายักษ์อื่นๆ อาจสนใจซื้อ Clubhouse ไปพัฒนาต่อหากมีศักยภาพในการขยายฐานผู้ใช้และการใช้งานในอนาคตต่อเนื่อง เพราะเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะกับ Facebook ที่เคยซื้อ Instagram, WhatsApp, หรือ Oculus มาก่อน

Clubhouse กับ Podcast จะเป็นคู่แข่งกันไหม ?

Clubhouse Vs Podcast

ทั้ง Clubhouse และ Podcast ต่างเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้การสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก จึงทำให้หลายคนวิตกว่า Clubhouse อาจไปดึงกลุ่มคนจาก Podcast มาแทน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Podcast อาจจะไม่ใช่คู่แข่งของ Clubhouse ตรงๆ มากนัก เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบเสียงเหมือนกัน แต่รายละเอียดต่างกันชัดเจน เพราะว่า Podcast ยังถือเป็นคอนเทนต์ในประเภทที่ผ่านการสร้างสรรค์มาก่อนแล้วที่จะเผยแพร่ออกไป

Advertisements

ขณะที่ Clubhouse เน้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์การสนทนาในรูปแบบเรียลไทม์มากกว่า จึงทำให้แนวทางของคอนเทนต์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานที่มากขึ้น ต่างจาก Podcast ที่เป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นหลัก

Clubhouse จึงอาจดึงดูดกลุ่มของผู้ฟัง Podcast ไปได้บ้างในส่วนหนึ่ง หากผู้ใช้งานต้องการมองหาคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมถึงต้องการมีส่วนร่วมในคอนเทนต์มากขึ้น

แบรนด์ โฆษณา การตลาด สามารถใช้ประโยชน์จาก Clubhouse ได้แค่ไหน

Clubhouse Vs Brand Advertisement

ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้ง Clubhouse นั้นต้องการให้เป็นพื้นที่ Social Media สำหรับผู้ใช้งานจริงๆ ที่มีตัวตนเป็นหลัก โดยมีส่วนของแบรนด์และการโฆษณาน้อยที่สุด แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว Clubhouse จะกลายเป็นอีกแพล็ตฟอร์มที่ได้รับความสนใจจากแบรนด์เพื่อโปรโมทสินค้าและบริการต่างๆ แน่นอน

เพราะทางผู้พัฒนาได้กล่าวว่าในปัจจุบันกำลังพัฒนาช่องทางสำหรับสร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสมาชิกกลุ่ม การให้ทิป หรือเก็บเงินเข้าห้องสนทนา รวมไปถึงการโฆษณาบน Clubhouse และ Hashtag สำหรับสนับสนุนแบรนด์ต่างๆ


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements