FinSpace

ถ้าอายุ 55 ปี จะได้เงินประกันสังคมคืนเท่าไหร่ ?

อยากรู้มั้ยครับว่า.. เงินประกันสังคมที่จ่ายไปทุกเดือน เดือนละ 750 บาท ถ้าครบกำหนดอายุ 55 ปีแล้ว เราจะได้คืนแบบไหน ? บำเหน็จหรือบำนาญ ? แล้วจะได้คืนกี่บาท ? วันนี้ Finspace มาชวนหาคำตอบด้วยการคำนวณแบบง่าย ๆ ตามนี้เลย

เงินประกันสังคม 750 บาท ถูกแบ่งเป็นกี่ส่วน ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าประกันสังคมที่เราจ่ายไปทุกเดือน เดือนละ 750 บาท ไม่ใช่เงินออมทั้งหมด แต่จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

Advertisements
  1. 225 บาท จะถูกแบ่งไปดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต หากไม่ได้ใช้สิทธิตรงนี้ ก็จะไม่ได้รับเงินคืน
  2. 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน(
  3. 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และออกจากประกันสังคม

ดังนั้นแล้ว เงินที่เราจะได้คืนมีแค่ส่วนเดียวคือ ส่วน 450 บาทนั้นเอง โดยเงินที่ได้คืนจะมาในรูปแบบของบำเหน็จหรือบำนาญ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ไม่สามารถเลือกว่าจะรับแบบไหนด้วยตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เราจ่ายประกันสังคมเข้าไป

441940212 1606987666747100 1144176539843515854 n

เงื่อนไขการได้รับบำเหน็จ

1. ต้องจ่ายประกันสังคมไม่ถึง 12 เดือน

จะได้รับ เงินส่วนของเราที่จ่ายไปทั้งหมดคืน

2. จ่ายประกันสังคม 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน

จะได้รับ เงินส่วนของเรา+เงินส่วนของนายจ้างสมทบ

ตัวอย่าง จ่ายประกันสังคมทั้งหมด 11 เดือนแล้วลาออก พออายุครบ 55 ปีจะได้เงินคืน ดังนี้
เงินส่วนที่สมทบเข้าไป 450 x 11 เดือน = 4,950 บาท

เงื่อนไขการได้รับบำนาญ

1. จ่ายประกันสังคม 180 เดือน

จะคำนวณโดย ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20%
ซึ่งฐานเงินเดือนสูงสุดคือ 15,000 บาท เท่ากับ 3,000 บาท/เดือน

2. จ่ายประกันสังคม 180 เดือนขึ้นไป

จะคำนวณโดย ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20% + โบนัสเพิ่มปีละ 1.5% (ซึ่งฐานเงินเดือนสูงสุดจะอยู่ที่ 15,000 บาท)

ตัวอย่าง จ่ายประกันสังคม 240 เดือน จะได้รับเงินคืน ดังนี้

Advertisements
  1. 15,000 x 20% = 3,000 บาท
  2. โบนัสเพิ่ม (240-180)/12 x 1.5% x 15,000 บาท = 1,125 บาท
    รวมทั้งหมด 3,000 + 1,125 = 4,125 บาท/เดือน

แต่ !! ถ้าหากลาออกจาก ม.33 มาต่อ ม.39 เงินที่ได้รับจะเปลี่ยนไป ดังนี้

  • หากต่อ ม.39 ไม่ถึง 60 เดือน จะนำฐานเดิม 15,000 บาท มาเฉลี่ยกับฐานใหม่ 4,800 บาท
  • หากต่อ ม.39 ตั้งแต่ 60 เดือนขึ้นไป ฐานจะเปลี่ยนเป็น 4,800 บาททันที

ตัวอย่าง นายบีเคยทำงานเป็นลูกจ้าง จ่ายประกันสังคม ม.33 มา 180 เดือน ต่อมาลาออกจากงาน และสมัคร ม.39 ต่อเป็นเวลา 60 เดือน รวมทั้งหมด 240 เดือน จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 : 180 เดือนแรก เท่ากับ 4,800 บาท x 20% = 960 บาท
  • ส่วนที่ 2 : 60 เดือนหลัง เท่ากับ 4,800 บาท x 1.5% x 5 ปี = 360 บาท
  • รวมได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ 960 + 360 = 1,320 บาทต่อเดือน

จะเห็นได้ว่า หากเราจ่ายเงินประกันสังคมมาตรา 39 ครบ 60 เดือน จะได้รับเงินบำนาญน้อยกว่าการจ่ายไม่ครบ 60 เดือน ดังนั้นแล้วจะต่อ ม.39 หรือไม่ ให้พิจารณาจากตัวเองเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ต้องการเงินบำนาญมากกว่า ก็ไม่ต้องต่อ ม.39 แต่ถ้าต้องการสวัสดิการด้านการรักษาก็แนะนำว่าควรต่อ ม.39


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co

ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่

Facebook : FinSpace

Advertisements

Instagram : https://bit.ly/3N3Yc5X

TikTok : https://bit.ly/3pAovpq

Twitter : https://bit.ly/3Cp68Ll

Blockdit : https://bit.ly/3VM3HJr

Website : http://bit.ly/2lxvlhY

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements