FinSpace

ฟองสบู่ดอกทิวลิป คืออะไร? ทำไม Ray Dalio บอกว่าเหมือน Bitcoin

ฟองสบู่ดอกทิวลิป

เหตุการณ์ฟองสบู่ดอกทิวลิป หรือ Tulip Mania ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้ง เมื่อ Ray Dalio ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่าอนาคตของบิทคอยน์ อาจเป็นเหมือนกรณีของฟองสบู่ดอกทิวลิป

Ray Dalio ให้มุมมองส่วนตัวว่าบิทคอยน์ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ดังนั้น เมื่อได้รับความนิยมถึงจุดหนึ่ง ก็มีโอกาสที่จะค่อยๆ จางหายไป และยิ่งถ้าได้รับความนิยมมากขึ้น สุดท้ายแล้วหน่วยงานของรัฐจะต้องเข้ามากำกับดูแลอย่างแน่นอน

Advertisements

หลายคนในนี้คงรู้จักบิทคอยน์กันอย่างดี แต่พอพูดถึงวิกฤตดอกทิวลิป เชื่อว่าคงมีไม่น้อยที่อาจจะไม่ค่อยคุ้น เอาเป็นว่า… เราจะพาไปย้อนรอยเหตุการณ์ครั้งนี้กัน

Was the tulip bubble really a bubble? — Adam Smith Institute
ภาพจาก : wealthstrategies

1. วิกฤตดอกทิวลิป (Tulip Mania) ถือว่าเป็นฟองสบู่ครั้งแรกของโลกที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1600-1700 โดยเกิดจากเก็งกำไร “หัวทิวลิป” อย่างไร้เหตุผลในประเทศเนเธอร์แลนด์ จนทำให้ทิวลิป 1 หัว เคยมีราคาแพงถึง 1 ล้านบาท!

.

2. จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ เกิดขึ้นเมื่อ 385 ปีก่อน เดิมทีดอกทิวลิปไม่ใช่พืชพื้นเมืองของเนเธอร์แลนด์ แต่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศตุรกี ซึ่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงเริ่มมีการนำเข้ามาในยุโรป ด้วยสวยงามแปลกตาของดอกทิวลิปในสมัยนั้น ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในเนเธอร์แลนด์ และกลายเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะ ถ้าใครมีดอกทิวลิป ก็จะถูกมองว่าไฮโซ ร่ำรวยสุดๆ

.

3. ราคาของดอกทิวลิปจึงค่อยๆ แพงขึ้นๆ และที่สำคัญคนเริ่มหันมาเพาะพันธุ์กันเยอะขึ้น กลายเป็นว่าใครมีที่ดินการเกษตร จากที่เคยปลูกพืชผักผลไม้ ก็เอามาปลูกดอกทิวลิปกันทั่วประเทศ

.

4. พอเป็นแบบนี้ จึงไม่ใช่แค่ดอกทิวลิปแล้วที่ขายดี แต่ลามไปถึงหัวทิวลิปสำหรับเพาะพันธุ์ด้วย ทุกคนเริ่มมีความต้องการเพื่อจะเอาไปปลูกขายทำกำไร แน่นอนว่าเมื่อ Demand มีมาก แต่ Supply ยังน้อย (เพราะเพิ่งมีการนำเข้ามาไม่นาน) ราคาจึงสูงขึ้นรวดเร็ว

.

Advertisements

5. ปัญหาคือธรรมชาติของทิวลิปจะออกดอกปีละครั้ง จึงเกิดการซื้อ-ขายใบจอง หรือสัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future Contract) นั่นเอง ซึ่งจะบอกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของฟองสบู่ก็ว่าได้ เพราะเมื่อมีสัญญาซื้อขาย ก็เกิดการเก็งกำไรจากพ่อค้า โดยนำไปขายต่อกันเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่าซื้อมาแพงเท่าไหร่ ขายต่อแพงกว่า

.

6. ราคาของสัญญาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการบันทึกไว้ว่ามูลค่าสูงสุดของทิวลิป 1 หัว เคยสูงถึง 1 ล้านบาท แต่แล้วจู่ๆ ในวันที่ 3 ก.พ. 1637 เมื่อราคาแพงขึ้นมาถึงจุดหนึ่ง คนเริ่มตระหนักถึงมูลค่าที่แท้จริงของมัน ทำให้ทุกคนต่างรีบขายสัญญาณกันใหญ่ และไม่มีใครยอมจ่ายในราคาที่สูงอีกแล้ว สุดท้ายฟองสบู่ก็แตก ราคาหัวทิวลิปตกลงอย่างรวดเร็ว และแทบจะหมดค่า สิ้นสุดการปั่นราคาทิวลิปอย่างบ้าคลั่งโดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 1 ปี

.

7. แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมาหลายร้อยปี แต่คำว่า Tulip Mania ก็ยังถูกหยิบยกมาเปรียบเปรยกับวิกฤตฟองสบู่ในหลายๆ ครั้ง และล่าสุดกับการที่ Ray Dalio หยิบมาเปรียบเทียบกับมูลค่าของบิทคอยน์นั่นเอง

Advertisements

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

มานี่ มีตังค์, CNBC


ติดตามบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements