FinSpace

10 คำถามท็อปฮิต (พักหนี้) ก่อน…ขอยังไงให้ผ่าน ?

สรุป 10 คำถาม พักหนี้

ช่วงนี้สถาบันการเงินมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ออกมาต่อเนื่อง เช่น พักชำระ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาจ่ายออกไปก่อน

ซึ่งก็มีคำถามเข้ามาเยอะมาก ว่ามาตรการที่แต่ละแบงก์ออกมาช่วยนั้น สรุปแล้วคืออะไรกันแน่

Advertisements

ลดหนี้ไปท่าไหร่ ?

ยังต้องจ่ายต่อยู่ไหม ?

ทำยังไงถึงจะได้รับการช่วยเหลือ ?

เราจึงได้ลิสต์ออกมาเป็น 10 ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ สำหรับคนที่ต้องการขอพักหนี้

พักหนี้ คือการเลื่อนจ่าย

1.พักหนี้ ≠ ลดหนี้

อันดับแรกเลยต้องเข้าใจก่อนว่า “การพักหนี้” เป็นแค่การเลื่อนเวลาจ่ายออกไปเท่านั้น “ไม่ได้ลดจำนวนหนี้ลง”

ดังนั้น มีหนี้เท่าไหร่ ก็ยังต้องจ่ายเหมือนเดิม แต่ถ้าช่วงนี้เงินสดขาดมือ ผ่อนไม่ไหวจริงๆ ก็ขอเขาพักไว้ก่อนนั่นเอง

พักหนี้ต้องจ่ายดอกเบี่ยเหมือนเดิม

2.พักเงินต้น ≠ หยุดจ่ายเงินยังต้องจ่ายดอกเบี้ยเหมือนเดิม

พักชำระเงินต้น คือ หยุดจ่ายแค่เงินต้น แต่ดอกเบี้ยยังต้องจ่ายเหมือนเดิม

เช่น ปกติเราชำระหนี้เดือนละ 10,000 บาท แบ่งเป็น ส่วนของเงินต้น 6,000 บาท ดอกเบี้ย 4,000 บาท

โดยขอพักชำระเงินต้น 6 เดือน แสดงว่าเรายังมีภาระที่ต้องจ่ายในส่วนของดอกเบี้ย 4,000 บาท/เดือน

พักเงินต้น แต่ไม่พักดอกเบี้ย

3.พักเงินต้น แต่ไม่พักดอกเบี้ย แบบนี้ช่วยลูกหนี้ยังไง ?

ถามว่าเป็นการช่วยลูกหนี้ยังไง ? คำตอบ คือ

  1. ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ลดภาระหนี้สินแต่ละเดือนในช่วงนี้ลงไปก่อน
  2. ทำให้ยอดหนี้ไม่เพิ่มขึ้น ประวัติไม่เสีย เพราะเรายังจ่ายดอกเบี้ยอยู่
พักหนี้ไม่เสียเครดิต

4.การขอพักหนี้ต่างๆ เป็นมาตรการพิเศษ ไม่มีผลต่อเครดิตบูโร

ย้ำว่าหากดำเนินการถูกต้อง และได้รับอนุมัติจากธนาคารเรียบร้อยแล้ว การพักหนี้ ไม่ว่าจะจะพักต้น พักดอก หรือพักทั้งต้นทั้งดอก จะไม่มีผลต่อประวัติเครดิตบูโรแน่นอน

Advertisements
หนี้แบบไหน ขอพักหนี้ ได้บ้าง

5.หนี้แบบไหน ได้รับความช่วยเหลือ ?

ธปท. ชี้แจงว่าจะมีหนี้สินทั้งหมด 4 ประเภทที่ได้รับการช่วยเหลือ ได้แก่

  1. บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
  2. สินเชื่อส่วนบุคคล
  3. เช่าซื้อรถ
  4. สินเชื่อบ้าน
ต้องลงทะเบียนพักหนี้

6.แบงก์ไม่ได้ช่วยอัตโนมัติ ต้องลงทะเบียนก่อน

เรื่องนี้หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าแบงก์พักหนี้ให้ทุกคนอัตโนมัติ เพราะความจริงแล้วเขาช่วยเหลือเฉพาะคนที่ยื่นคำขอเท่านั้น

ดังนั้น หากต้องการความช่วยเหลือ แต่ยังไม่ยื่นคำขอ ต้องรีบดำเนินการให้ไวเลย

รวมเบอร์ติดต่อแบงค์ สำหรับพักหนี้

7.รวมเบอร์ติดต่อทุกแบงก์

ใครเป็นลูกค้าแบงก์ไหน เรารวมเบอร์ติดต่อมาให้แล้ว โทรไปโลด…

เตรียมข้อมูลสำหรับ พักหนี้

8.เตรียมข้อมูลให้พร้อม

ก่อนยื่นคำขอพักหนี้ อย่าลืมเช็กข้อมูลและเอกสารให้พร้อมว่าเขาต้อการอะไรบ้าง ซึ่งโดยหลักแล้วจะประกอบด้วย ชื่อผู้ขอสินเชื่อ, เลขที่บัตรประชาชน, เลขสัญญา

อย่างไรก็ดี เช็กกับแต่ละแบงก์อีกครั้งหนึ่ง จะได้ไม่เสียเวลาหลายรอบ

Advertisements
ระบุเหตุผล พักหนี้

9.ระบุเหตุผลให้ชัดเจน

ในการยื่นขอพักหนี้ ทางแบงก์จะให้เรากรอกเหตุผลด้วยว่า ทำไมถึงขอพักหนี้ ได้รับผลกระทบเรื่องอะไร

ซึ่งควรกรอกข้อมูลตรงนี้ให้ละเอียด ถูกต้อง และชัดเจน เช่นเขียนไปเลยว่า ก่อนหน้านี้รายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ แล้วปัจจุบันหายไปเท่าไหร่ เพราะอะไร ระบุให้เป็นตัวเลขไปเลยชัดๆ

หยุดก่อหนี้ ก่อนจะพักหนี้

10.พักหนี้ได้แล้ว

ช่วงนี้อะไรก็ไม่แน่นอน หากขอพักหนี้ได้แล้ว อย่าก่อหนี้เพิ่มจะดีที่สุด ซึ่ง FinSpace ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นช่วงที่ยากลำบากแบบนี้ไปพร้อมกันครับ


ติดตามบทความ การเงิน สนุกๆกันต่อได้ที่ FinSpace – Finance
ติดตามบทความอื่น ๆ ของ Guru นายแว่นลงทุน
ได้ที่ Website : www.topofliving.com
หรือ Facebook : นายแว่น ลงทุน – Naiwaen Investment

อ่านอะไรต่อดี…

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements