FinSpace

USA The Last Survivor ? “หากวิกฤติไม่เกิดที่สหรัฐ สหรัฐมักรอด” โดย AKN Blog

USA The Last Survival

USA The Last Survivor ? “หากวิกฤติไม่เกิดที่สหรัฐ สหรัฐมักรอด”
โดย AKN Blog

วิกฤติการเงิน เป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อพอร์ตการลงทุนของทุกๆท่าน หากเป็นไปได้ย่อมไม่มีใครอยากเจอสภาวะนั้น ที่อาจส่งผลให้พอร์ตการลงทุนของตน เงินต้นขาดทุนได้อย่างมหาศาล อาจจะ -30%, -40% หรือ ไปจน -50%

Advertisements

ในภาวะเช่นนี้ที่โลกของเราอยู่ในภาวะลูกผีลูกคน ไม่มั่นใจว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือไม่ เราลองย้อนกลับไปดูในอดีตกันว่ามีบ้างหรือไม่ที่จะมีประเทศใดที่ทนทานต่อวิกฤติได้

เคยมีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “หากวิกฤติไม่เกิดที่สหรัฐ สหรัฐมักรอด”

ซึ่งหมายถึง เมื่อไหร่ก็ตามที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะวิกฤติขึ้นมา โดยสาเหตุมิได้เกิดจากสหรัฐฯ นั้น สหรัฐฯ มักไม่ได้รับผลกระทบ หรือรับผลกระทบน้อยมาก คำกล่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ลองย้อนอดีตไปดูกัน

โดยที่ผ่านมานั้น โลกของเรามีวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมาก แต่วิกฤติที่ไม่ได้เกิดจากประเทศสหรัฐฯ และอยู่ในช่วงเวลาที่มีการบันทึกไว้นั้น หลักๆ มีทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน

วิกฤติทองปี 1980

วิกฤติทองปี 1980
ภาพ S&P 500 Index Vs Gold Price / Oz. 1970 – 1980 l Source : Bloomberg

เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อรุนแรงผสมกัน
เมื่อสหภาพโซเวียต ณ ขณะนั้นได้เข้าโจมตีกลุ่มผู้ก่อจลาจลในอัฟกานิสถาน ซึ่งคาดกันว่าเป็นฝีมือของสหรัฐอยู่เบื้องหลัง

ซึ่งก่อให้เกิดเป็นสงครามที่ยาวนานเกือบ 10 ปี เมื่อประกอบกับการจับตัวประกันมาราธอนในอิหร่านกว่า 444 วัน และอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐที่สูงกว่า 13% และแน่นอนเมื่อความตึงเครียดทางการเมืองปะทุขึ้นก็ส่งผลให้ ราคาทองทะยานขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 835 เหรียญ จากเดิมที่ ต้นปี 1979 นั้นราคาอยู่แค่เพียง 225 เหรียญเท่านั้นซึ่งคิดเป็นการเติบโตถึง 2.7 เท่า ในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี

แต่แล้วเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ความป็นจริงเริ่มกลับมา ทองคำเริ่มขยับตัวลดลงมาสู่ระดับ 490 เหรียญภายในเวลา 3 เดือน หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงกว่า 39% ผลที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นของสหรัฐคือ ตลาดS&P 500 ของสหรัฐฯ นั้น แทบไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากช่วงเวลาเดียวกันนั้นดัชนี S&P500 ขยับขึ้นจาก 99 จุดไปที่ 111 จุด และลดลงมาเหลือ 102 จุดในช่วงเวลาเดียวกัน หรือคิดเป็นกรปรับตัวขึ้น 12% และปรับตัวลง 8% เท่านั้น
..

ฟองสบู่เศรษฐกิจญี่ปุ่น

ฟองสบู่เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ภาพ S&P 500 Index Vs NIKKEI 225 Index 1984 – 1992 l Source : Bloomberg

ประเทศญี่ปุ่น ที่ในช่วงปี 1984 นั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างบ้าคลั่ง เมื่อประกอบกับการกระตุ้นการใช้จ่ายจากรัฐบาลผ่านการลงทุนโดยตรง สินเชื่อดอกเบี้ยถูก และผ่อนปรนกฏเกณฑ์การกู้ ก็ทำให้เกิดการเก็งกำไรทั้งในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์

Advertisements

ส่งผลให้ดัชนี Nikkei225 ทะยานจาก 10,000 จุด ไปสู่ระดับสูงสุดที่ 38,900 จุดหรือเกือบ 4 เท่า ภายในเวลา 5 ปี และแน่นอนตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เกิดฟองสบู่ตามไปด้วย

แต่แล้วเมื่อราคาเกินความเป็นจริงไปมากฟองสบู่ก็แตก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 20,000 จุดในเวลาเพียง 9 เดือน และปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องไปสู่จุดต่าสุดในเวลาต่อมาที่ 14,800 จุด ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากตลาดทำจุดสูงสุด หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงกว่า 48.5% และ 62% ตามลำดับ ซึ่งวิกฤตินี้เองก็ส่งผลให้ญี่ปุ่นพบกับภาวะเงินฝืดเป็นเวลาต่อมาอีกนาน

ซึ่งขณะเดียวกันนั้น ทางสหรัฐเองดัชนี S&P500 ก็แทบไม่ได้รับผลกระทบอีกเช่นเคย หนำซ้ำยังปรับตัวขึ้นสวนทางด้วยซ้ำ ด้วยจุดเริ่มต้นที่ 166 จุด ไปสู่ 353 จุดในช่วงญี่ปุ่นถึงจุดสูงสุด และเมื่อญี่ปุ่นฟองสบู่แตกก็มีการปรับตัวลงเล็กน้อยเหลือ 306 จุด และกลับมาเดินหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องปิดที่ระดับ 419 จุด หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงเพียง 13% และปรับตัวขึ้นสวนทางกว่า 36% (นับจาก 306จุด) ตามลำดับ

วิกฤติต้มยำกุ้ง

2
ภาพ S&P 500 Index Vs SET Index Vs MSCI Asia Pacific Ex. Japan. 1990 – 1997 l Source : Bloomberg

มาต่อที่วิกฤติที่เกิดไม่ใกล้ไม่ไกล ในช่วงปี 2540 เกิดจากการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ของรัฐบาลไทย
ทำให้เกิดการCarry Trade เก็งกำไรสูงในตลาดหลักทรัพย์หรือ SET Index ส่งผลให้ ตลาดทะยานขึ้นไปถึง 1,790 จุด แต่แล้วเมื่อรัฐบาลยื้อค่าเงินไว้ไม่ไหว ประกาศค่าเงินลอยตัวจากระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์เป็น 50 บาทต่อดอลลาร์ตลาดก็พังลงมา ดัชนี SET Index ลงมาสู่จุดต่ำสุดที่ 372 จุดภายใน 3 ปี คิดเป็นการลดลงกว่า 80% ภายในเวลา 3 ปี แต่ยังไม่หยุดแค่นั้น เมื่อตลาดปรับตัวลงต่ออีกไปสู่ระดับ 213 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงกว่า 88% ภายใน 4 ปี และแน่นอนอย่างที่เราทราบกันว่าในช่วงเวลานั้นเอง สถานการณ์วิกฤติ ก็แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียของเรา

แต่ขณะเดียวกันนั้น ดัชนี S&P500 ของสหรัฐก็ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 360 จุดในปี 1990 ไปสู่ระดับ 470 จุดในปี 1994 และปิดที่ 975 จุดในปี 1998 ซึ่งเป็นทีแน่ชัดว่า ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย

Advertisements

จากมหาวิกฤติฟองสบู่ 3 ครั้งที่มิได้เกิดขึ้นในสหรัฐ จะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วคำกล่าวนี้อาจเป็นจริงก็ได้ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วหากมาตรการบาซูก้าการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ผล ทางเลือกลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวก็อาจน่าสนใจก็เป็นได้
..


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

อ่านอะไรต่อดี…

Advertisements

Akn Blog

Related post

Advertisements